Register
Member Login
Forgot Password ??
PHP
,
ASP
,
ASP.NET, VB.NET, C#, Java
,
jQuery , Android , iOS , Windows Phone
Registered :
109,037
HOME
>
บทความจากสมาชิก
>
ข้อควรพิจารณาในการเลือก Spatial Database (ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่)
ข้อควรพิจารณาในการเลือก Spatial Database (ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่)
ข้อควรพิจารณาในการเลือก Spatial Database
หลักการเลือกฐานข้อมูลที่เป้นข้อมูล
Spatial Database(ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่)
ก็คงไม่ต่างจากฐานข้อมูลทั่วไปเท่าไหร่ ซึ่งจะคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ ความคุ้มค่า ฟงก์ชั่นการทำงาน ความง่ายต่อการนำไปใช้ และขนาดของข้อมูลที่จะใช้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพ ความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่ก็จะไปสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์อีกดว้ย ตลอดจนโอเอส ที่นำมมาใช้งานอีก ซึ่งในส่วนนี้จะไม่พูดถึง
ลักษณะทั่วไปของการเก็บข้อมูล แบบ Spatial Data
1)
File Base เช่น Shape file(ESRI), DWG/DXF/SDF(Autodesk), MID/TAB(MapInfo), CSV/XLS/MDB(Microsoft)/SQLite,KML/KMZ และไฟล์ฟอร์แมตอื่นๆ อีกมากมาย กล่าวก็คือลักษณะการเก็บข้อมูลในรูปแบบไฟล์
2)
RDBMS การเก็บข้อมูลในรูปแบบ Relation database ซึ่งจะมี Data type ที่เก็บ Geometry โดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายๆค่าย ทึ่สามารถเก็บ Spatial data ลง Database ได้แล้ว เช่น Oracle Locator/MS SQL Server 2008 up/MySQL 4.0 up/PostgreSQL(PostGIS)/Informix Spatial/IBM DB2 Spatial extension และอื่นๆ อีกมากมาย
ลักษณะการนำ Spatial Database มาใช้งานในงาน GIS
- ขนาดข้อมูลที่จัดเก็บ เช่นถ้ามีไม่เกิน 1,000 เรคคอร์ด คงไม่ต้องใช้ฐานข้อมุลขนาดใหญ่มาเก็บ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลือง
- การใช้งานร่วมกับ Open Source(ฟรี) อาจจะต้องใช้ซอร์ฟแวร์ฟรีร่วมกัน เช่น MapGuide Open Source+MySQL หรือ MapGuide Open Source+PostgreSQL(PostGIS)เป็นต้น อันนี้อาจจะเกิดจากงบประมาณหรือโดนผู้ใหญ่สั่งลงมาให้ใช้
- ความยาก-ง่าย ต่อการใช้งาน เช่น มี Oracle ใช่งานอยู่แล้ว อยากก็เก็บข้อมูลเชิงพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อเอามาใช้งาน
- ฟังก์ชั่นการใช้งานในตัวฐานข้อมูลนั้น เช่น ฐานข้อมูลบางตัวสามารถค้นหาเชิงพิ้นได้ในตัว ไม่ต้องไปเขียนโปรแกรมเพิ่มเลย สามารถใช้คำสั่ง ที่มีมาด้วย Query ข้อมูลได้เลย ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาระบบงานใช้งานได้ง่ายดายขึ้น
- งบประมาณ ค่าลิขสิทธฺ์ของซอร์ฟแวร์ต่างๆ
- การขยายได้ในอนาคต
- ยังมีหัวข้ออื่นๆ ที่ถูกนำมาพิจารณาอีก เช่น ซอร์แวร์ที่นำมาใช้ สนับสนุนเฉพาะฐานข้อมูลรุ่นนี้เท่านั้น เป็นต้น
ตัวอย่าง Spatial Database
Microsoft SQL2008 (normal data)
Microsoft SQL2008 (spatial data)
จัดการฐานข้อมูล postgeSQL ด้วยโปรแกรม pgAdmin III
PostgreSQL(PostGIS) เชื่อมต่อด้วย pgAdmin III
FdoToolbox
FdoToolbox Normal data
FdoToobox Spatial data view
การเชื่อมต่อ Spatial Database กับ MapGuide Open Source 2.4
การเชื่อมต่อ
Spatial Database กับ MapGuide Open Source 2.4
นั้นจะใช้งานเชื่อมต่อผ่าน Data Provider ซึ่งจะใช้ Feature Data Object(FDO) ซึ่งท่านสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://fdo.osgeo.org/ ซึ่งจะบอกถึงความสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลประเภทต่างๆ ร่วมถึงซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้ FDO ในเวอร์ชั้นต่าง ซึ่งในส่วนของ MapGuide Open source v2.4 จะใช้ FDO version 3.7 ซึ่งถ้าหากท่านติดตั้งในวินโดว์ ก็จะเห็นค่าคอนฟิค ต่างๆ ตลอดจน Library อยู่ที่โฟลดเดอร์ C:\Program Files\OSGeo\MapGuide\Server\Fdo\provider.xml ซึ่งจากเก็บค่าเชื่อมต่อฐานข้อมูลไว้ ดังรูป
FDO Provider
FDO_Provider
- Oracle 9i
- MS SQL Server 2008 and above
- ArcSDE
- MySQL 4.0 and above
- PostGIS (PostgreSQL 8.4)
- ODBC
- SDF/SHP
- WFS/WMS
- GDAL/OGR
- Raster
- อื่นๆ
การเลือกฐานข้อมูลที่นำมาใช้ในงานร่วมกับ MapGuide Open Source ที่ต้องคำนึงส่วนใหญ่
- มี FDO Library สำหรับฐานข้อมูลนั้น เช่น Oracle/MySQL/PostGIS/MS SQL server 2008/อื่น
- สนับสนุนสำหรับ 32-bit(x86) หรือ 64-bit(x64)
- MapGuide Open Source ติดตั้งบน Windows หรือ Linux ลักษณะของ Library ต่างกัน
- มีเครื่องมือ ที่ช่วยในการสร้างฐานข้อมูล แก้ไข หรือใช้ดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น Third Party มี่ทั้งฟรีและเสียตังค์
เช่น QGIS(ฟรี) หรือ AutoCAD Map 3D/ ArcMap /MapInfo/etc
ส่วนประกอบหลักในงาน GIS ที่จำเป็นต้องรู้
1) ระบบพิกัดของแผนที่(Coordinate System) เช่น LL84(LatLon), SRID: 4326
2) ข้อมุลเชิงรูปภาพ(Raster Image)เช่น GeoTiff, ECW, JPG2000, TFW เป็นข้อมูลภาพที่ถูกตรึงเข้ากับระบบพิกัดแล้ว จึงมีความสามารถในการวางอยู่ในตำแหน่งที่ระบุ ที่นิยม เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
3) ข้อมูลเชิงเส้น(Vectors)ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นนำมาใช้ก็จะเป็น จุด(Point)เส้น(Polyline)รูปหลายเหลี่ยม(Polygon)
4) มาตรฐานในงานของ GIS การแลกเปี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานในรูปแบบของ Web Mapping Service(WMS) and Web Feature service(WFS) นอกจากนั้นก็ยังมี KML/KMZ
5) FDO provider for OGR สำหรับการเชื่อมต่อ Vectors ได้หลายๆชนิด ดูได้ที่
http://www.gdal.org/ogr/ogr_formats.html
ซึ่งในตารางจะแสดงชื่อของชนิดของข้อมูลที่เชื่อมต่อได้
6) FDO provider for GDAL สำหรับการเชื่อมต่อ Raster
http:// http://www.gdal.org/formats_list.html
ซึ่งในตารางจะแสดงชื่อของชนิดของข้อมูลที่เชื่อมต่อได้
เครื่องมือจำเป็นในงาน GIS
- เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้สร้าง/แก้ไข/ลบ ของมูล Vectors/Raster เช่น AutoCAD Map 3D/QGIS และอื่นๆ
- เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการ นำเข้า-ส่งออก(Import/Export)ระหว่าง Vectors เช่น โปรแกรม SHP2SQL
- สามารถเปลี่ยนระบบพิกัดของของข้อมูล Coordinate Transform หรือ Reprojection ได้
- สามารถปรับรูปแบบการแสดงผล ทำเฉดสีต่างๆ ได้
- ยังมีความสามารถด้านอื่นอีก ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการใช้งาน ราคา ความสามารถของซอร์ฟแวร์ต่างๆ ฟรีหรือเสียตังค์
ตัวอย่างโปรแกรมในงาน GIS
- Quantum GIS(QGIS) นับว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจและมีความสามารถหลากหลายด้าน สามารถเชื่อต่อฐานข้อมูล Spatial data ได้หลายๆตัว แถมยังมีการเชื่อต่อผ่าน GDAL(Raster) และ OGR(Vector) ซึ่งสองตัวนี้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้หลากชนิด ซึ่งท่านสามารถดูว่ามันมี Spatial ตัวไหนบ้างได้จากเว็บ http://www.gdal.org/
- FdoToolbox เป็นโปรแกรมเล็กที่ใช้ดู Spatail data ทั้งในรูปแแบดาต้า และ กราฟิค สารมารถสร้าง Query ได้
- Fdo2Fdo ความสามารถคล้ายกับ Fdotoolbox
- Oracle SQLDeveloper ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ oracle เพิ่มความสามารถในการแสดงข้อมูล GIS ด้วย Extension ที่ชื่อว่า GeoRaptor ซึ่งจะทำให้ oracle spaial แสดงข้อมูลในรูปแบบดาต้ากริดและ กราฟิคได้
- AutoCAD MAP 3D พัฒนามาจากโปรแกรม AutoCAD ที่เราคุ้นเคยการทำ Drawing สู่ความสามารถด้าน GIS ขอเสียคือเป็นโปรแกรมลิขสิทธิ์(เสียตังค์) ซึ่งเป็นผู้บริจากโค๊ดโปรแกรม MapGuide ให้กับ Open Source ก็เลยเป็นที่มาของโปรแกรม MapGuide Open Source ซึ่งปัจจุบันก็มีการพัฒนาต่อกันมาเรื่อยจนถึงเวอร์ชั่น v2.5 Rc1
- GRASS ดูรายละเอียดได้จาก http://grass.ibiblio.org/index.html
- JUMP ดูรายละเอียดได้จาก http://www.jump-project.org/
- OpenEV ดูรายละเอียดได้จาก http://openev.sourceforge.net/
- Thuban ดูรายละเอียดได้จาก http://thuban.intevation.org/
- UDig ดูรายละเอียดได้จาก http://udig.refractions.net/
- FGIS ดูรายละเอียดได้จาก http://www.digitalgrove.net/fgis.htm
- และโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย มีทั้งฟรีและเสียตงค์ ความสามารถแตกต่างกันออกไป
สรุปการเลือกฐานข้อมูล Sptial มีข้อคิดหลักดังนี้
1) ถ้าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ จะต้องมีความเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรม GIS ได้หลายๆโปแกรม ยกตัวอย่างระบบงาน GIS ของภาครัฐ งบเกิดจากการประมูล ซึ่งจะทำให้ได้ซอร์ฟแวร์หลากหลายมาก หากฐานข้อมูลไม่มีความเป็นมาตรฐาน จะทำให้ความเข้ากันได้น้อย ถ้าหากไม่ออกแบบไว้ให้ดี อาจจะถึงขั้นใช้ร่วมกันไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องเลิกใช้
2) หลึกเลี่ยงฐานข้อมูลที่เป็น proprietary ผูกขาดเจ้าเดียว เช่น ถ้าหากจะใช้ซอร์ฟแวร์นี้จะต้องใช้ร่วมกับตัวนี้เท่านั้น ซอรต์แวร์ตัวอื่นไม่สามารถเชื่อต่อได้ จะมีผลพวงต่อการพัฒนาต่อในภายหน้า
2) มีความยึดหยุ่นในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น MySQL สามารถใช้งานได้กับระบบ ตั้งแต่เล็กๆ ไปถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่
3) ถ้าหากข้อมูลที่เก็บมีปริมาณ ไม่มากก็ไม่ควรสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช้ Open Source ดีกว่าแล้วเอาเงินที่เหลือไปพํฒฯาระบบงานจะดีกว่าเสียเงินซึ่งฐานข้อมูลราคาแพง แต่แอพพิเคชั่นยังพัฒนายังไม่ค่อยดี ไม่น่าใช้ ทำให้สูญเงินเปล่าๆ
4) หากเป็นข้อมูลขนาดเล็แล้วต้องการใช้งานร่วมกับ mobile device เก็บฐานข้อมูลบน SQLite ก็น่าสนใจไม่น้อย
5) ฐานข้อมูลที่มีฟังก์ชั่นทางด้าน GIS ในตัวของฐานข้อมูลโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม ซึ่งจะสามารถเรียก Execute Query หรือฟังกชั่นได้เลย เช่น มีฟังก์ชั่นการหาระยะทาง บัฟเฟอร์ การเลือกข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูล GIS อีกตารางหนึ่ง การ Select WithIn Touch Intersection และฟงก์อื่นที่ซับซ้อน ก็ทำให้ประหยัดเวลาในการประมวลผลด้วย
การเลือกฐานข้อมูล Spatial Data ที่ดีก็จะทำให้ระบบงาน GIS ทั้งต่อผู้ใช้งานและผู้พัฒนาระบบ อีกทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณเพราะไม่ต้องเปลี่ยนฐานข้อมูลบ่อยๆ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนำไปใช้บ้างพอสมควร.
Share
By :
James_037
Article :
บทความเป็นการเขียนโดยสมาชิก หากมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งให้ทาง webmaster ทราบด้วยครับ
Score Rating :
Create Date :
2013-03-10
Download :
No files
Sponsored Links
Free Tutorial
สอน Google Maps Api
สอน Windows Service
สอน Entity Framework
สอน Android
สอน Java เขียน Java
Java GUI Swing
สอน JSP (Web App)
iOS (iPhone,iPad)
Windows Phone
Windows Azure
Windows Store
Laravel Framework
Yii PHP Framework
สอน jQuery
สอน jQuery กับ Ajax
สอน PHP OOP (Vdo)
Ajax Tutorials
SQL Tutorials
สอน SQL (Part 2)
JavaScript Tutorial
Javascript Tips
VBScript Tutorial
VBScript Validation
Microsoft Access
MySQL Tutorials
-- Stored Procedure
MariaDB Database
SQL Server Tutorial
SQL Server 2005
SQL Server 2008
SQL Server 2012
-- Stored Procedure
Oracle Database
-- Stored Procedure
SVN (Subversion)
แนวทางการทำ SEO
ปรับแต่งเว็บให้โหลดเร็ว
Hit Link
นำเข้าสินค้าจากจีน
Taobao
เฟอร์นิเจอร์
ของพรีเมี่ยม
ร่ม
ปากกา
power bank
แฟลชไดร์ฟ
กระบอกน้ำ
แลกเปลี่ยน Exchange Link
ลองค้นหาสิ่งที่ต้องการ
Load balance :
Server 04
© www.ThaiCreate.Com. 2003-2024 All Rights Reserved.
ไทยครีเอทบริการ จัดทำดูแลแก้ไข Web Application ทุกรูปแบบ (PHP, .Net Application, VB.Net, C#)
[
Conditions Privacy Statement
]
ติดต่อโฆษณา
081-987-6107
อัตราราคา
คลิกที่นี่
Inline