ปฏิบัติการวางแผนและสร้างเกมส์ครั้งแรกในชีวิตของผม กับ VB และ XNA แบบไม่มีความรู้เลย
จากคำพูดทิ้งท้าย "ถ้าพัฒนาสมบูรณ์จริงๆ อาจนำเสนอโครงการนี้ให้กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการพิจารณา อนุญาตุให้บรรจุตามคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน" อยากแนะนำว่า
ให้เริ่มจากมีโครงร่างเนื้อหาในการซอดแซกธรรมะหรือจริยธรรมให้ชัดเจนก่อน อย่าพึ่งไปคิดถึงการทำเกมเลยครับ จริง ๆ แล้วอย่าพึ่งไปคิดถึงการเขียนโปรแกรมเลยครับ
วัตถุประสงค์ของคุณ "เพื่อทำวิจัยและปลูกฝั่งจริยะธรรมผ่านหลักการโดยอาศัยหลักวิเคราะห์ในจิตวิทยาเด็กในเกณฑ์ดังกล่าว
ว่าสามารถซึมซับพฤติกรรมต่าง ๆ ผ่านสิ่งเร้าโดยอาศัยตัวแบบคือตัวละครในเกมส์ได้หรือมั้ย"
จากวัตุประสงค์งานวิจัยจะไม่ตั้งวัตถุประสงค์อย่างงี้ ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนนะครับ แน่นอนล่ะคุณจะทำเกม แต่อะไรคือวัตถุประสงค์หลักจริง ๆ และสมมติฐานที่ตั้งนั่นคืออะไร และประโยชน์ที่ได้รับคืออะไรครับ
เอาเป็นว่าก่อนคุณจะทำอะไรต้องไปหาข้อมูลก่อนว่า ยกตัวอย่างงานวิจัย เทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตหรือพฤติกรรมของมนุษย์หรือไม่ เป็นต้น เพราะว่าเราจะไม่มีตัวแปรอะไรเลยนะครับ ที่จะชี้วัดได้ว่า เกมกับเด็ก จะสัมพันธ์กันอย่างไร แน่นอนว่าสมมติฐานของผมอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ถ้าผมบอกว่า "เด็กไทยอายุไม่เกิน 12 ปี จะมีพฤติกรรมที่สอดคล้องอยู่กับเนื้อหาในเกมส์" มันอาจจะจริงหรือไม่จริงบนตัวแปรที่เราชี้วัด ทุกวันนี้มันบอกไม่ได้หรอกครับว่า
เด็กอายุ 12 ปี เล่นเกม GTA แล้วพฤติกรรมจะกร้าวร้าวทุกคน หรือ
เด็กส่วนใหญ่ที่เล่นเกม GTA แล้วจะไม่มีพฤติกรรมกร้าวร้าวต่อสังคม
คือ??? ท้ายที่สุดผลลัพธ์ของงานวิจัยมันต้องออกมาเป็นตัวแปรอะครับ บอกไม่ถูกเหมือนกัน แต่มันต้องได้ตัวแบบเข้ามาช่วยในการชี้วัดนะครับ ถึงจะเอาไปเสนอต่อกระทรวงได้นะครับ
Date :
2012-01-12 23:33:35
By :
gunnermontana
ผมคิดว่าการเขียนลำดับการสร้างเกมส์คงไม่แตกต่างกับการสร้างเอฟเฟคในภาพยนต์เท่าไหร่นัก
เพราะฉะนั้นผมจึงเขียนลำดับการทำงาน โดยอาศัยรูปแบบเดียวกับการสร้างงานภาพยนต์
โดยเงือนใขมีอยู่ว่า สร้างเกมส์โดยสอดแซกจริยะธรรมและใช้ความรุนแรงน้อยที่สุดเพราะฉะนั้น ในเกมส์จะแบ่งลำดับคำสอนหลักๆตามวิถีของพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขาดังนี้คือ
1.1 ศีล ก็คือ ศีลห้าข้อ (คงไม่ต้องบอกว่ามีอะไรบ้าง)
1.2 สมาธิ ก็คือภาวนาสมาธิ(สมาธิเป็นอุบายสงบใจ) วิปัสนาสมาธิ(สมาธิเป็นอุบายเรืองปัญญา)
1.3 ปัญญา ฝึกให้เด็กสามารถรู้และมีความฉลาด ความฉลาดที่ว่านี้คือ การแยกแยะว่าสิ่งใหนชั่วสิ่งใหนดี และสอนวิธีการทำดี วิธีการละเว้นความชั่ว (ความรู้ที่เด็กควรถูกปลูกฝั่งก่อนเรียนรู้สิ่งอื่นคือการแยกแยะชั่วและดี หากเรียนมาสูง แต่ยังแยกแยะชั่วดีไม่ได้ก็ขึ้นชื่อว่ายังเป็นคนโง่อยู่)
2.ลำดับการเล่น
2.1ด่านศิลจะมีลำดับด่านต่างๆตามลำดับในศีลห้าข้อโดยแต่ละด่านจะมีคำสอนจริยะธรรมขึ้นบนสุดของจอเกมส์เสมอจะยกตัวอย่างการเล่นในด่านสุดท้าย ของศีลห้าข้อคือละเว้นจะการดื่มสุราเมรัย ซึ่งศัตรูในเกมส์คือขวดสุราแบบมีแขนขาซึ่งเดินเหมือนคนเมาและพยายามชวนผู้เล่น ดื่มสุราผ่านคำพูด หรือข้อมความต่างๆ ผู้เล่นจะต้องเดินหนี หากเดินชนขวดเหล้าจะมีอาการเมาควบคุมตัวละครในเกมส์ได้ยาก ในขณะนั้นจะมีข้อความบอกโทษของสิ่งมึนเมาและวิธีการหลีกเลี่ยงสิ่งมึนเมาเพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรมให้เด็กบนหน้าจอเกมส์ และเมื่อผู้เล่นเดินชนถึง3ครั้งจะกลับไปเล่นในจุดเริ่มต้นของด่านนี้
2.2(1) ด่านภาวนาสมาธิผู้เล่นจะต้อง ควบคุมสมาธิโดยตัวละครในเกมส์จะได้รับอารมณต่างๆคือความโกรธ ความหลง ความโลภ เด็กจะต้องทำลายสิ่งต่างๆเหล่านี้ ด้วยยาวิเศษคือธรรมมะต่างๆเช่น เมตตาใช้รักษาความโกรธ ซึ่งเด็กต้องกดใช้ยารักษาโรคให้ถูก พร้อมกันนั้นก็จะมีคำอธิบาย บอกโทษของอารมณ์เหล่านั้น และวิธีควบคุมอารมณ์นั้นบนหน้าจอเพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรม
2.2(2)ด่านวิปัสสนาสมาธิ ฝึกให้เด็กวิเคราะห์ปัญหา ตามลำดับพระอริยะสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยจะสร้างสภาวะหรือ Eventในเกมส์ เรียงลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันให้เด็กแก้ปัญหา พร้อมทั้งบอกโทษและวิธีแก้ปัญหาให้เช่นเดิมเพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรม
2.3.ปัญญาตัวละครในเกมส์จะเปลี่ยนไปโดยใส่ชุดดูดีขึ้น อาจเป็นชุดคล้า่ยเทวดาหรือเทพ (ซึ่งตอนแรกอาจเป็นชุดขาวธรรมดา)
ในด่านนี้จะให้เด็กใช้ความรู้ของตัวเองในการช่วยเหลือคนอื่น โดยจะมีตัวละครเพิ่มมาตัวหนึ่ง เป็นสองตัวรวมทั้งตัวละครที่เด็กเล่นอยู่ เด็กจะต้องกดเลือกคำสอนและคำอธิบายต่างๆให้ถูกต้องเพื่อพาตัวละครอีกตัวฝ่าด่านตั้งแต่ด่านแรกไปจนถึงด่านสุดท้าย หากทำสำเร็จจะมีข้อความชมเชย และอาจจะสร้างฉากจำลองแดนสวรรค์พร้อมบอกผลของการทำความดีว่าเด็กจะได้รับผลเช่นไรบ้าง
จบครับ อันนี้คือลำดับเงื่อนใขในเกมส์น่ะครับ ลำดับอื่นๆจะสร้างต่อไป
ประวัติการแก้ไข 2012-01-12 23:50:20
Date :
2012-01-12 23:48:57
By :
worajito
ก่อนอื่นน่ะครับขออนญาติอธิบายหลักจิตวิทยาก่อนว่า
กระบวนการะพัฒนาของมนุษย์นั้นมีสามอย่างคือ
1.Assimmilation การใช้วิธีดั้งเดิม คือการเรียนรู้โดยพฤติกรรมตั้งแต่กำเนิด
2.Accommodation การค้นพบวิธีใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางต่างๆ
3.Equilibrium การสร้างความสมดุลและเหมาะสม คือการรู้จักแก้ปัญหา หรือการกระทำตอบสิ่งเร้าได้อย่างเหมาะสม
หลักจิตวิทยาแล้วมนุษย์จะมีวิวัฒนาการทางปัญญาโดยอาศัยสามรูปแบบนี้วนไปวนมาไม่มีที่สิ้นสุดตั้งแต่เด็กจนโต
เช่น เด็กโดยธรรมเคยดูดนมแม่ เมื่อเวลาที่ใครเอานิ้วมือมาแหย่ใส่ปากเด็กก็จะดูดนมแม่โดยสัญชาติญาณ(Assimmilation ) จากนั้นเมื่อวุฒิภาวะทางปัญญาเจริญขึ้นเด็กอาจพบเจอสิ่งใหม่เช่นเมื่อเราส่งของที่ใหญ่เกินกว่าที่เด็กจะดูดหรืออมได้ เด็กจะเริ่มจากการพยายามที่จะอม
เมื่อไม่สามารถอมได้เด็กก็จะจับของสิ่งนั้นกลิ้งไปมาหรืออาจทุบอาจขว้างอาจโยนหรือกระทำด้วยวิธีต่างๆ(Accommodation) จากนั้นเมื่อวุฒิภาวะทางปัญญาเจริญขึ้นอีกเด็กจะสามารถเรียนรู้และแก้ใขปัญหาได้ ซึ่งเราเรียกว่าความสมดุลทางปัญญา เช่นสมมุติว่าเราให้เด็กกินขนม แล้วหลังจากนั้นเราส่งกล่องขนมที่ปิดฝาใว้ให้เด็กเมื่อเด็กหยิบกล่องขนมนั้นไปเด็กจะเริ่มใช้พฤติกรรมโดยแรกเริ่มคือ เด็กจะพยายามเอากล่องนั้นมาอมมาดูด
เมื่อเด็กทำไม่สำเร็จเด็กจะเขย่าหรือทุบกล่องนั้นหรืออาจโยนหรือกระทำในวิธีต่างๆ และเมื่อเด็กกระทำวิธีใดแล้วสามารถเปิดกล่องได้เด็กก็จะจดจำวิธีนั้นใว้และจะกระทำอีกกับวัตถุอื่นๆหรือวัตถุเดียวกันในคราวต่อๆไป(Equilibrium) ที่นี้หวังว่าคงจะพอเข้าใจหลักจิตวิทยาเบื้องต้นแล้วน่ะครับ
ที่นี้มาถึงจุดที่ต้องบอกจุดประสงค์น่ะครับ ผมคาดว่า คุณGunner คงจะเข้าใจว่าจุดประสงค์ที่ผมบอกเป็นจุดประสงค์ในการทำวิจัยซึ่งถ้ามันเป็นจุดประสงค์การวิจัยจริงๆคุณก็พูดได้ถูกต้องครับ แต่ว่านี่มันเป็นจุดประสงค์ในการสร้างเกมส์ครับไม่ใช่จุดประสงค์ในการวิจัย
ซึ่งผมขออธิบายจุดประสงค์อีกครั้งจุดประสงค์ในการสร้างเกมส์ มีดังนี้ครับ
คือเพื่อทำวิจัยและปลูกฝั่งจริยะธรรมผ่านหลักการโดยอาศัยหลักวิเคราะห์ในจิตวิทยาเด็กในเกณฑ์ดังกล่าว
ผมตั้งจุดประสงค์ในการสร้างเกมส์ แบ่งเป็น 2 ส่วนน่ะครับ คือ
1.เพื่อวิจัย
2.เพื่อปลูกฝั่งพฤติกรรม
ที่นี้ลองนึกตามผมน่ะครับว่าในเมื่อเราจะทำการปลูกฝั่งพฤติกรรมให้เด็กซึ่งเป็นมนุษย์ เราควรต้องทำการวิจัยก่อนใช้มั้ยครับว่าเกมส์นั้น
สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมในด้านใดบ้าง และเมื่อผ่านการวิจัยแล้วว่าสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมในด้านจริยะธรรมนั้นจริงๆก็จะสามารถนำมาปลูกฝั่งพฤติกรรมนั้นได้ เพราะถ้าหากว่าผมไปปลูกฝั่งสิ่งเหล่านี้ใว้กับเด็กโดยไม่ผ่านการวิจัยก็เท่ากับว่าผมเอาสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริยะธรรมจริงๆให้เด็กสิครับ
ทีนี้ทำไมผมซึ่งเป็นนักจิตวิทยามีความรู้ด้านเขียนโปรแกรมแค่น้อยนิด ต้องมาทำงานนี้ก็เพราะว่า มันเป็นส่วนเริ่มต้น นั้นก็คือส่วนที่ต้องทำวิจัยงัยครับ
ไม่ใช่ส่วนที่นำมาใช้งานจริงๆกับเด็ก และเมื่อผมสร้างขึ้นมาและพิสูจน์ว่าสามารถปลูกฝั่งพฤติกรรมได้จริง เกมส์นี้จะถูกพัฒนา
โดยทีมงานที่มีความรู้ในการสร้างเกมส์จริงๆ เพราะว่าคงไม่มีใครจะยอมควักเงินลงทุนโดยที่ยังไม่รู้ผลการวิจัย จริงมั้ย ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
ประวัติการแก้ไข 2012-01-13 02:19:01 2012-01-13 02:29:28 2012-01-13 02:31:17 2012-01-13 02:41:55
Date :
2012-01-13 01:11:10
By :
worajito
จากคำแนะนำที่สองน่ะครับ
เด็กอายุ 12 ปี เล่นเกม GTA แล้วพฤติกรรมจะกร้าวร้าวทุกคน หรือ
เด็กส่วนใหญ่ที่เล่นเกม GTA แล้วจะไม่มีพฤติกรรมกร้าวร้าวต่อสังคม
ซึ่งผมจะตอบตรงๆเลยน่ะครับว่า ผมไม่เคยเล่นเกมส์GTA แต่ผมคิดว่ามันคงเป็นเป็นเกมส์ที่มีเนื้อหารุนแรงในระดับเพราะคุณได้นำเกมส์นี้มาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบซึ่งโดยปกติถ้าไม่ใช่เกมส์รุนแรงคุณก็คงไม่ยกมาอธิบาย
แต่ผมจะไม่เอาชื่อเกมส์มาเป็นประเด็นแต่จะขอตอบตามหลักจิตวิทยาเป็นระดับๆดังนี้ครับ
การเล่นของเด็กมีลำดับต่างๆดังนี้น่ะครับ
1.เด็กเเรกเกิดจนถึงอายุ3ปี จะไม่เข้าใจกฏหรือกติกาในการเล่นไม่ว่าจะเล่นเกมส์หรืออะไรก็ตาม เด็กจะเล่นตามใจตัวเองเท่านั้นโดยไม่สนใจกฏและกติกา
2.เด็กในระหว่างอายุ3-5ปีมีความเชื่อว่ากฏของเกมส์หรือการเล่นนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แต่เด็กก็จะพยายามแก้ใขกฏเหล่านั้นตลอดเวลา
3.เด็กอายุ5-11ปี จะเริ่มเข้าใจว่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดกฏและกติกาต่างๆ และจะทำตามกฏนั้นอย่างเคร่งครัด
4.เมื่อเด็กมากกว่าอายุ11ปีหรือ12ปีจะเข้าใจกฏและกฏิกาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ฺ และจะเปลี่ยนกฏกติกาการเล่นได้เมื่อผู้เล่นด้วยกันเองมีความเห็นตรงกัน
จากคำอธิบายเบื้องต้นถ้าคุณคำนวณโดยเอาความเข้าใจในรูปแบบการเล่นของเด็กมาเป็นตัวแปรคุณจะทราบได้ถึงสภาวะจิตของเด็กในรูปแบบคล้ายอาเรย์สามมิติของการเขียนโปรแกรม ซึ่งเมื่อเด็กเจริญวัยขึ้นภาวะทางความคิดก็จะมีมากขึ้นนั้นแสดงว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าก็จะมีขึ้นมาด้วย(เหมือนการเพืิ่มคอลลัมในอารเรย์)พร้อมกับสภาวะจิตด้านอื่น
ในขณะนั้นเด็กจะรู้จักแยกแยะอุปนัยและนิรนัย ซึ่งผมจะอธิบายในส่วนนี้ว่า
เด็กอายุตั้งแต่7-12ปี(คงไม่ต้องบอกว่าคำนวณแบบใหนเพราะถ้าพูดถึงอาเรย์คุณคงเข้าใจ) ความคิดก็จะขยายในขอบเขตที่กว้างขึ้น
และเด็กในวัยนี้มีวิวัฒนาการทางความคิดเพิ่มขึ้นมาคือ สามารถวิเคาราะห์แยกแยะเหตุผลและตัดสินใจเองได้และสามารถพิจารณาปัจจัยต่างๆเมื่อเกิดปัญหาได้ แต่มันติดตรงที่ว่าการเรียนรู้และสภาวะแวดล้อมของเด็กในวัยนี้เป็นแบบใหน เด็กที่เล่น GTA อาจไม่ใช้เด็กก้าวร้าว และเด็ก
ที่ไม่เล่นเกมส์GTAก็อาจไม่ใช่เด็กเรียบร้อย ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าเด็กสามรถตัดสินใจได้เอง แต่ว่า เมื่อเด็กเล่นเกมส์ที่มีความรุนแรงในขณะเดียวกันเด็กก็จะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัวซึ่งโดยปกติเด็กอาจจะแสดงออกหรือไม่ก็ได้แต่พฤติกรรมเหล่านั้นเด็กจะจดจำและเรียนรู้ เมื่อเด็กเกิดอารมณ์ต่างๆ เด็กก้จะแสดงพฤติกรรมตามแบบบางอย่างในเกมส์ ออกมาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะเป็นอยู่พักๆเพียงชั่วครู่หรืออาจมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้านอื่นๆด้วย หวังว่าคงเข้าใจน่ะครับในเจตนารมณ์
และแน่นอนครับ คนที่กล้าทำวิจัยโดยเอาเด็กมาทดลองต้องไม่ใช่นักศึกษาในมหาลัยแน่ๆ
และอย่างน้อยๆหัวหน้าทีมวิจัยก็คงจะอยู่ในระดับ รองศาสตราจารย์ เพราะการทำวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ต้องขออนุญาตเป็นลายลักอักษร
ลำพังผมคนเดียวก็คงไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ หากไม่มีคนอื่นเป็นตัวเริ่มต้น ซึ่งในการทดลองอื่นๆได้รับการยอมรับหมดแล้ว ก็เหลือแต่ตรงนี้และครับ ที่ต้องมาเริ่มใหม่เนื่องจากว่ามันล้มเหลวในครั้งแรกเพราะว่าเด็กไม่สนใจเล่นเกมส์นี้เท่าที่ควร เนื่องจากรูปแบบเกมส์ดูบ้านๆมากเกินไปบวกกับขาดสิ่งเร้าทางอารมณ์ คุณอาจจะพอจำได้บ้างว่้าเมื่อ3-4ปีที่แล้ว เคยมีเกมส์ลักษณะเดียวกันซึ่งสนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม แต่สักพักมันก็หายไปจากโลกนี้นั้นเพราะความผิดผลาดในรูปแบบการนำเสนอที่มันไม่สามารถทำให้เด็กสนใจและหันมาเล่นได้
และ่ที่บอกว่าถ้ามันสำเร็จจริงๆจะเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการพิจารณา ก็อย่างที่บอกครับว่าพิจารณาเท่านั้น ซึ่งมีทั้งหมด
2กระทรวง และทำหน้าที่ต่างๆกัน แน่นอนครับกว่าจะไปถึงกระทรวงจริงๆคงผ่านการทดสอบจากศูนย์ต่างๆมากพอสมควรถึงจะสามารถไปถึงตรงนั้นได้ และถ้ามันผ่านก็แค่ได้รับการยอมรับว่าเกมส์นี้เป็นเกมส์ที่สามารถบรรจุลงในเครื่องของโรงเรียนได้จริง ซึ่งถ้าไม่มีก็ไม่เห็นจะเกี่ยว
เพราะมีหลายเกมส์ที่บรรจุลงในเครื่องของโรงเรียนโดยไม่ผ่านกระทรวงแต่ที่ผมต้องนำมาพูดเพราะจุดมุ่งหมายของโครงการมันมาอย่างงี้อ่ะครับ ขอบคุณทุกคำชี้แนะน่ะครับ
Date :
2012-01-13 02:17:51
By :
worajito
หลังจากผมได้นำเสนอเงื่อนใขและวิธีการเล่นไปบ้างแล้วขั้นตอนต่อไป ผมควรลำดับการทำงานใช่หรือไม่?
หากใช่ลำดับการทำงานก็คงจะคล้ายกันกับการสร้างภาพยนต์ซึ่งมีลำดับดังนี้
1.สร้างสตอรี่บอร์ด
2.ออกแบบฉาก
3.ออกแบบตัวละคร
4.ออกแบบเอฟเฟคต่างๆรวมทั้งเสียง(ในภาพยนต์เสียงเป็นเอฟเฟคชนิดหนึ่ง)
5.กำหนดเหตุ์การณ์ในแต่ล่ะฉาก
6.ออกแบบรายละเอียดย่อย (เช่น ปุ่มกด ข้อมความต่างๆ)
7.จัดหมวดหมู่ ออปเจ็ค
8.กำหนดเงื่อนใขในเกมส์
9.เขียนโค๊ด
10.ทดสอบและแก้ใขให้ถูกต้อง
จากลำดับการทำงานสิ่งที่ควรจะนำมาให้พี่ๆเพื่อนชี้แนะในลำดับต่อไปก็คงจะเป็นสตอรี่บอร์ด
ซึ่งผมใช้โปรแกรม โฟโต้ช๊อป5เป็นโปรแกรมหลักๆในการออกแบบสตอรี่บอร์ด ผมจะนำเสนอแค่บางส่วนเท่านั้นน่ะครับ
ส่วนอื่นๆผมจะนำมาเสนอทีหลังน่ะครับ หรืออาจจะเริ่มเสนอปัญหาการเขียนโค๊ดเลย ฉากหลังที่เห็นอยู่เป็นของท่านอาจารย์เฉลิมชัยน่ะครับ
ซึ่งแน่นอนในเกมส์จริงๆผมอาจต้องเปลี่ยนฉากหลังไปบ้างเพื่อความเหมาะสม
ประวัติการแก้ไข 2012-01-13 11:53:46 2012-01-13 11:56:17 2012-01-13 12:05:45
Date :
2012-01-13 10:45:48
By :
worajito
จากที่อ่านแสดงว่าคุณมี Background งานวิจัยจิตวิทยามาแล้ว สมมติฐานต่าง ๆ ที่คุณตั้งเอาไว้มันก็สามารถตอบชี้ชัดลงไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว (จาก ความเห็น No4.) โดยแยกระดับอายุของเด็กตามสมมติฐานไปแล้ว ทีนี้มาตอบข้อสงสัยก่อน
1. เรื่องชื่อเกมที่ผมยกตัวอย่าง เกม GTA ผมก็ไม่เคยได้เล่นอะไรหรอก แต่ผมคิดออกแค่เกมนี้เท่านั้นและมันถือเอามาเป็นประเด็นร้อนในสังคมทุกวันนี้ว่าเกมที่ออกแนวรุนแรงขนาดอายุที่มากกว่า 15 ปี ยังแยกไม่ิออกว่าโลกความเป็นจริงกับเกมเป็นอย่างไร ที่เขามักใช้คำว่าเด็กติดเกม (ตามคำแนะนำพื้นฐานจะมี rate อายุกำกับไว้ข้างกล่องของเกมเช่น 18+ สำหรับคนที่อายุ 18 ปีขึ้นไป) มันเลยกลายเป็นประเด็นที่ว่าเราไม่มีเครื่องมือที่จะชี้วัดพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่จะบอกลงไปได้จริง ๆ ว่า เช่น น้อง ก. ตรวจด้วยเครื่องมือ A สามารถเล่นเกม X ได้ ส่วนน้อง ข. ตรวจด้วยเครื่องมือ A ไม่สามารถเล่นเกม X ได้ เป็นต้น อยากได้งานวิจัยแนวนี้มา่กกว่า
2. แน่นอนว่าเครื่องมือที่คุณจะใช้วัดพฤติกรรมเด็กก็คือเกมธรรมะนั่นเอง เท่ากับว่า คุณมีเครื่องมือชิ้นเดียวคือการสอดแทรกเนื้อหาในความดีเท่านั้น โดยที่ไม่มีเครื่องมือตัวอื่น ๆ เลย เช่น การวัดไหวพริบ การเอื้อต่อสังคม คือ?? มันไม่มีเหตุการณ์ชวนให้เด็กแก้ปัญหา เนื้อหาในเกมมีแต่ธรรมมะ มีแต่การรู้จักรักษาศีล สุดท้ายแล้วโลกของความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่าง 1 เหตุการณ์ที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน มีชายแก่คนหนึ่งเดินไม่ค่อยไหวกำลังข้ามถนน ขณะข้ามอยู่โดยรถเฉี่ยวจริง ๆ ล้มลงบาดเจ็บ จังหวะเดียวกันเห็นขโมยกำลังวิ่งชิงทรัพย์หญิงวัยกลางคน กำลังร้องตะโกนของความช่วยเหลือ หากวันนั้นคุณอยู่ในเหตุการณ์ที่เอื้อต่อคนทั้งสองได้ คุณจะทำอย่างไร แล้วถ้าเป็นเด็กจะมีพฤติกรรมต่อสังคมอย่างไร แน่นอนว่าคำตอบเป็นอะไรก็ได้ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่แค่อยากทราบว่าเด็กเหล่านั้นมีวิธีการของเค้าอย่างไร เด็กที่ผ่านโลกมาเยอะอาจกร้าวร้าวบ้างอาจจะเข้ามาช่วยเหลือได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ผ่านอะไรมาเลยท่องแต่ธรรมมะ ศึกษาหาความดี จนแยกไม่ออกว่าเราจะเอาความดีไปเป็นปัญญาแก้ปัญหาต่อสังคมเช่นไร
แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงแค่ที่ผมสงสัยเฉย ๆ เท่านั้นเองไม่มีอะไรมากหรอกครับ ส่วนแผนการทำงานด้านเกม จริง ๆ คุณทำคนเดียวไม่ได้หรอก สิ่งที่คุณต้องมีคือ
1. Producer
2. Graphic Designer ออกแบบงานกราฟฟิก สร้่าง Avatar ฉากต่าง ๆ
3. Sound Editor
4. Programmer ต้องเลือกคนเขียนโปรแกรมที่เก่งจำพวก GDI+ ผ่านการทำ Image Processing มาบ้าง
5. Tester
เอาแค่นี้ก็อ่วมล่ะคุณ ไม่งั้นมันก็จะออกมาเป็นแบบเดิมเหมือนอย่างที่คุณเจอคือเละเทะไม่เป็นท่า เกมไม่น่าเล่น ให้ฟรียังไม่อยากเล่น
ก็ผมเสนอความเป็นจริง ถ้าผมตรงแล้วดูรุนแรงกับคุณไปต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ความเป็นจริงก็คือคุณจะทำไรมันต้องลงทุนนะครับถึงจะออกมาดี ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับ
Date :
2012-01-13 12:08:13
By :
gunnermontana
ขอเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่าสิ่งที่คุณได้นำมาเป็นประเด็นทั้งหมดนั้นเราได้ทำการวิจัยมาหมดแล้ว และสามารถชี้ชัดถึงพฤติกรรมทุกอย่างแล้ว
ไม่ใช่เฉพาะผมและทีมงาน แต่มีนักจิตวิทยาอีกหลายคนทั่วโลก ที่ทำงานด้านนี้ และอย่างที่บอก จุดประสงค์ของผมไม่ได้วัดพฤติกรรมเด็ก
แต่ผมทำวิจัย ซึ่งสิ่งที่ต้องการในการวิจัยตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้
1.การวิจัยต้องการทราบว่าสมองของเด็กมีผลกระทบอย่างไรเมื่อผ่านสิ่งเร้าในรูปแบบต่างๆ
ซี่งรูปแบบที่ได้ทำวิจัยมาก่อนแล้ว คือ วัตถุ มนุษย์ แสง สี พืช และเสียง และภาพวาด และที่กำลังจะทำต่อไป คือเกมส์
2.ผลการเรียนและซึมซับพฤติกรรมของมนุษย์ในวัยที่สมองถูกกระตุ้นผ่านสิ่งเร้ามีผลอย่างไหร่
3.และเด็กสามารถแยกแยะพฤติกรรมเหล่านั้นได้หรือมั้ย
ทั้งสามข้อนี้เราได้ทำวิจัยจนแน่ชัดแล้ว และตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในช่วงที่วัดผลการประเมิน แต่อยู่ในช่วงที่ปฏิบัติงานจริง และไม่ใช่ทฤษฏี
ส่วนที่คุณพูดว่า
สุดท้ายแล้วโลกของความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่าง 1 เหตุการณ์ที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน มีชายแก่คนหนึ่งเดินไม่ค่อยไหวกำลังข้ามถนน ขณะข้ามอยู่โดยรถเฉี่ยวจริง ๆ ล้มลงบาดเจ็บ จังหวะเดียวกันเห็นขโมยกำลังวิ่งชิงทรัพย์หญิงวัยกลางคน กำลังร้องตะโกนของความช่วยเหลือ หากวันนั้นคุณอยู่ในเหตุการณ์ที่เอื้อต่อคนทั้งสองได้ คุณจะทำอย่างไร แล้วถ้าเป็นเด็กจะมีพฤติกรรมต่อสังคมอย่างไร แน่นอนว่าคำตอบเป็นอะไรก็ได้ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่แค่อยากทราบว่าเด็กเหล่านั้นมีวิธีการของเค้าอย่างไร เด็กที่ผ่านโลกมาเยอะอาจกร้าวร้าวบ้างอาจจะเข้ามาช่วยเหลือได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ผ่านอะไรมาเลยท่องแต่ธรรมมะ ศึกษาหาความดี จนแยกไม่ออกว่าเราจะเอาความดีไปเป็นปัญญาแก้ปัญหาต่อสังคมเช่นไร
ผมตรวจสอบผ่านการวิจัยแล้วว่า เด็กที่ก้าวร้าวนั้นเป็นฝ่ายที่กระทำพฤติกรรมที่คุณยกตัวอย่าง นั่นคือเด็กที่ก้าวร้าวจำนวน8ใน13คนมักทำร้ายเพื่อนในระหว่างเล่นด้วยกัน การเรียนรู้ความดีแต่ไม่สามารถเอาความดีมาใช้งานจริงๆได้ นั้นมันเป็นแค่ทฤษฏีซึ่งหลักจิตวิทยาไม่สามาเอามาเป็นแนวคิดได้ และแนวคิดที่นำมาใช้มันไม่สมเหตุสมผลในหลักจิตวิทยา ซึ่งผมขอยืนยันว่าทั้งหมดที่คุณสงสัย ผมและหัวหน้าโครงการ
ทำวิจัยเรื่องนี้มานานมากว่า30ปีแล้ว และรู้เรื่องนี้มากพอพร้อมทั้งมีหลักฐานทางวิชาการ และบรรจุเข้าสู่หลักสูตรจิตวิทยาการเรียนรู้
ในระดับปริญญาตรีแล้วด้วย และที่ผมทำและก็ขอยืนยันให้คุณเอาสิ่งนี้ไปเป็นประเด็นขบคิดก็คือว่า
ผมมีจุดมุ่งหมายในการปลูกฝั่งจริยะธรรม มิได้มีจุดมุ่งหมายในสิ่งที่คุณนำมาเป็นประเด็นและถ้าพูดในความเป็นจริง
เด็กที่ไม่ผ่านการปลูกฝั่งความดีเด็กจะเป็นคนดีได้ยังไง และผมบอกแล้วว่าในหลักจิตวิทยาว่า เด็กในวัย7-12ปี มีสมองที่สามารถแยกแยะชั่วดีและสามารถประมวลเหตุและผลรวมทั้งสามารถตัดสินใจได้เองเพราะฉะนั้นเด็กจะสามารถนำความดีไปพัฒนาใช้ในด้านใดนั้นต้องผ่านการปลูกฝั่งผ่านสิ่งเร้า ซึ่งเราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า (Cignitive Domain) ส่วนที่คุณแนะนำผมว่าอยากให้มีโครงการในการสร้าง
ครื่องมือที่จะชี้วัดพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่จะบอกลงไปได้จริง ๆ ว่า เช่น น้อง ก. ตรวจด้วยเครื่องมือ A สามารถเล่นเกม X ได้ ส่วนน้อง ข. ตรวจด้วยเครื่องมือ A ไม่สามารถเล่นเกม X ได้ เป็นต้น อยากได้งานวิจัยแนวนี้มา่กกว่า
ผมคิดว่านั้นเป็นความคิดที่ดีและก็มีคนทำออกไปแล้วตั้งแต่ปี1913 คือ เบนจามินบลูม โดยท่านด็อกเตอร์เบนจามินบลูมใช้เวลาตั้งแต่ปี1913 จนถึง 1999 ในการค้นคว้าและทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งผมคิดว่านานพอสมควรที่ผมจะเอาทฤษฏีเดียวกันมาใช้ แต่เพราะอะไรเขาถึงไม่นำมาวัดกับเด็กเพราะว่าประเทศหนึ่งมันมีเด็กกี่คนล่ะ เพราะฉะนั้นการวัดจึงวัดจากกลุ่มเด็กในอายุระดับต่างๆแทน ซึ่งเป้าหมายของผมคือเด็กอายุ 5-14 ปี และแน่นอนเด็กอายุ5-14ปี จะไม่สามารถจับโขมยที่วิ่งราวได้แน่นอน แต่จะมีผลให้เด็กคนนั้นไม่กล้าที่จะวิ่งราว เพราะเกรงกลัวในบาปบุญคุณโทษ และถ้าเด็กที่ไม่วิ่งราวไม่ลักโขมย มีจำนวณมากขึ้น มันจะดีสักแค่ใหน สมองของเด็ก มีความคิดตามสมมติฐานที่ละเอียดอ่อน และเรียนรู้เร็วผ่านตัวแบบคือสิ่งเร้าในอายุระหว่างนี้ และเมื่อวุฒิภาวะทางปัญญาเติบโตขึ้น ก็อย่างที่ผมบอกไปแล้วใน no.4ว่าให้คำนวณปัญญาของเด็กในวัยต่างๆ ซึ่งจะมีมากขึ้นเพราะฉะนั้นเด็กจะสามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างแน่นอน ตามหลักจิตวิทยาเพราะฉะนั้นรบกวนคำนวณและวิเคาราะห์ให้ละเอียดด้วย และคร้งที่แล้วในการสร้างเกมส์ผมเองและเจ้าของโครงการก็ไม่ได้สร้าง แต่ผมพึ่งจะมาทำโครงการนี้อีกครั้งต่อจากรุ่นก่อนๆซึ่งผมเป็นคนที่ตรวจพบปัญหาดังกล่าวและอาสาเข้ามาแก้ใข เพราะฉะนั้นก่อนคุณจะสรุป วุฒิภาวะทางปัญญาของเด็กในเกณฑ์ต่างๆ ขอให้คุณได้คำนวณและวิเคราะห์ให้เข้าใจเสียก่อน ผมยินดีน้อมรับทุกคำแนะนำครับขอบคุณครับมีคนแสดงวความคิดเห็นแบบนี้ดีแล้วครับ อย่างน้อยๆคุณก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะสามรถพลักดันหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทีมงานในโครงการ ความคิดเห็นของคุณทุกบรรทัดผมได้อ่านและนำไปวิเคราะหมดแล้ว ซึ่งที่คุณถามมาทั้งหมดรุ่นพี่ในโครงการเขาทำวิจัยไปหมดแล้วครับตอนนี้มันติดอยู่ที่เดียวจริงๆ ขอบคุณครับ
Date :
2012-01-13 16:16:04
By :
worajito
เกมแรกๆ ไม่ลองอะไรง่ายๆ อย่าง tetris หรือ pacman ก่อนละคะ
ถ้าจะเริ่มด้วยอะไรที่วิลิศมาหรา มันมักจะไม่รอดน่ะค่ะ
และคงไม่ต้องใช้ กำลังคนหรือทรัพยากรมากมาย
ลองทำแบบเล็กๆมาก่อน จะได้ฝึกจัดการอะไรๆด้วยตนเอง
ถ้าเขียนเกมต้องใช้อะไรมาก อย่างที่คุนอะไรนั่นแนะนำนั่น
มันเขียนเป็นอุตสาหกรรมแล้วมั้งคะ ลองๆเท่าๆที่คุนจะทำได้
แต่จากที่สังเกตุ ประเมินหยาบๆจากที่คุณถามๆในบอร์ดนี่
ก็น่าจะเอาการอยู่ค่ะ ยังต้องพยายามให้มากขึ้น
หรือเอาเข้าจริงลองๆเครื่องมือช่วยเขียนเกมอย่าง RPG MAKER
หรือ Game creator ตัวอื่นๆ อาจจะช่วยให้จินตการของคุณเป็นรูปเป็นร่าง
ขึ้นมาก็ได้ค่ะ
Date :
2012-01-13 16:27:43
By :
สาวไร่อ้อย
และในส่วนคำแนะนำที่คุณได้บอกผมว่า
สิ่งที่คุณต้องมีคือ
1. Producer
2. Graphic Designer ออกแบบงานกราฟฟิก สร้่าง Avatar ฉากต่าง ๆ
3. Sound Editor
4. Programmer ต้องเลือกคนเขียนโปรแกรมที่เก่งจำพวก GDI+ ผ่านการทำ Image Processing มาบ้าง
5. Tester
ข้อ1นั้นผมคิดว่าในทีมงานนั้นมีอยู่แล้วเ ส่วนข้อ2.กราฟฟิคผมคิดว่าผมสามรถทำได้ไม่ยากนัก
ข้อ3.Sound Edito อันนี้ยิ่งง่ายใหญ่เพราะที่บ้านผมเป็นห้องบันทึกเสียงและตัดต่อภาพยนต์
ข้อ4.โปรแกรมเมอร์ นี้แหละครับที่มันเป็นปัญหาเพราะว่าที่เราต้องการคือสร้างมาเพื่อเป็นตัวทดลองการวิจัยเพราะฉะนั้นแน่นอนครับงบประมาณที่เรามีมากพอแต่ทำไมเราไม่จ้างเขาทำก็เพราะว่าในระหว่างที่ทำเราก็ต้องวิจัยไปด้วยเป็นลำดับๆจนกว่าจะเสร็จ และเมือเสร็จแล้วตัวอย่างเกมส์จะถูกนำไปพัฒนา เช่นเมื่อผมสร้างด่านศีลมา ผมก็ต้องทำวิจัยว่า เด็กมีผลตอบสนองเป็นอย่างไหร่ผลการเรียนรู้มากน้อยแค่ใหนต่อสิ่งเร้าที่เราสร้างขึ้น เพระาถ้าอยู่ดีๆสร้างทีเดียวเสร็จเลยโดยไม่ผ่านการวิจัย พอออกไปแล้วไม่มีคนเล่น มันก็พังรอบสองซิครับ
หวังว่าทุกท่านคงหมดความสงสัยน่ะครับ
เนื้อหาที่คุณตอบผมตรงแต่ไม่รุนแรงครับเป็นธรรมดาของการแสดงความคิดเห็นซึ่งผมคิดว่าเป็นผลดีด้วยซ้ำที่คุณตอบมา
เพราะผมก็จะได้อธิบายได้อย่างเต็มที่และคนอื่นก็จะได้เข้าใจไปด้วยซึ่งหลังจากคุณอ่านบทความที่ผมตอบเข้าไปคุณคงจะเข้าใจ
ได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังวิเคาระห์กับสิ่งที่เรากำลังทำนั้นมันคนล่ะอย่างซึ่งสิ่งที่คุณถามมาเราได้วิจัยผ่านพ้นไปนานเป็น10ๆปีแล้วขอบคุณน่ะครับความคิดเห็นของคุณมีประโยชน์สำหรับเราครับ
Date :
2012-01-13 16:36:43
By :
worajito
pacman กับ tetris เป็นเกมรุ่นโบราณ และมักใช้เป็นต้นแบบเพื่อให้ฝึกทักษะการเขียนเกมค่ะ
หาดู sourcecode ได้สิบๆแบบด้วย google นี่แหละค่ะ
ขอออกความเห็นส่วนตัวนะคะ XNA เป็น platform เกมของ Microsoft ซึ่งจะบังคับให้คุณรันใน windows
หรือ X-BOX มันยังมีทางเลือกอื่นๆคือ OpenGL หรืออื่นๆที่ไม่ได้ยึดตึดกับ windows มากนัก
จะลองดูไว้เป็นทางเลือกป่าวคะ
ความเห็นส่วนตัวนะคะ
โดยปกติพฤติกรรมของคนเนี่ยถ้าเป็นเรื่องด้านลบมันจะกระตุ้นความสนใจได้ดีกว่าเสมอๆ
เป็นอย่างนี้กับทุกช่วงวัยของมนุษย์ เป็นประเด็นหลักที่อุตสาหกรรมเกมใช้ขับเคลื่อนมาจนทุกวันนี้
เช่น เราคงจะเดินๆแล้วชักปืนยิงตำรวจกันไม่ได้
ถ้าคุณจะเขียนเกมจริงๆประเด็นการออกแบบ การวางโครงเรื่องจะสำคัญกว่า programming เสียอีกนะคะ
แล้วงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ในหลายๆอย่าง หลายๆกรณี ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะ programming มากมายหรอกค่ะ
อ่อ สวัสดีปีใหม่นะคะ คงไม่ช้าไปมั้ง
Date :
2012-01-13 17:35:34
By :
สาวไร่อ้อย
ผมได้นำเสนอสตอรี่บอร์ดบางส่วนไปบ้างแล้ว ซึ่งตอนนี้ ผมทำมาถึงการออกแบบตัวละครแล้วซึ่งโปรแกำรมที่ผมใช้คือ
CrazyTalk Animator PRO หากใครมีโปรแกมที่ดีกว่านี้แนะนำผมได้เลยน่ะครับ
Date :
2012-01-13 18:20:15
By :
worajito
เออ ท่านเจ้าของกระทู้นี่ใช่ รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ใช่มั้ยครับ เพราะผมจับประเด็นตรงที่อาจารย์พูดว่า
///แต่ผมเคยใช้unity สร้างเกมส์เพื่อฝึกทักษะด้านการสืบสวนและสอบสวนมาแล้ว/// พอดีผมเคยทำงานร่วมกับ ดร.ภาณุวัฒน์ อ่ะครับ
เลยคิดว่าต้องเป็นอาจารย์แน่ๆ
หากใช่กรุณาติดต่อกลับที่เมล์นี้ด้วยครับ
[email protected] คือผมเคยเห็นผลงานของอาจารย์หลายอย่างอ่ะครับ และก็ประทับใจมากเลยถ้าเป็นไปได้ผมขออาสา
รับผิดชอบในการสร้างเกมส์เองผมอยู่ปทุมธานีครับ หากอาจารย์สะดวกเมล์มาบอกผมเลยน่ะครับ ผมไม่คิดค่าใช้จ่ายทำฟรีครับ
งานวิจัยเพื่อสังคมแบบนี้ชอบครับ ยินดีช่วยเหลือเต็มที่ครับซึ่งความสามารถของผม มีดังนี้ครับ
1.เขียนโปรแกรมและสร้างเกมส์ได้
2.ผมจบ ป.โท สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เอกคอม
4.ผมไม่เคยทำงานวิจัย แต่อยากจะทำสักครั้ง
ผมมีเพื่อนอีก4-5คน ที่อยากร่วมทำงานนี้
ขอให้อาจารย์กรุณาด้วยครับ
Date :
2012-01-14 01:05:54
By :
อดัม
ผมส่งEmailไปแล้วน่ะครับ รายละเอียดทั้งหมดอยู่ที่Email น่ะครับ แล้วเริ่มงานได้วันไหนก็ติดต่อที่หมายเลขที่ผมส่งไปเลยน่ะครับ
ขอบคุณมากครับดีใจครับที่สังคมไทยมีเยาวชนที่เสียสละอย่างนี้ครับ
Date :
2012-01-14 08:24:50
By :
worajito
จากที่กะว่าจะทำแบบ2Dง่ายๆแต่มีคนอาสามาช่วยผลก็เลยต้อมมานั่งออกแบบ3Dกัน ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ก็คือDAZ3D
อีกไม่นานเกมส์นี้ก็คงจะเสร็จ
Date :
2012-01-14 20:32:35
By :
worajito
ได้เห็นความพยายามก็ถือว่าดีแล้วครับ จากงานวิจัยถ้าคุณคิดว่าทุกอย่างที่คุณพูดโอเคหมดแล้ว ผมก็คงจะไม่มีข้อสงสัยอะไรอีก ส่วนเรื่องประเด็นที่จะเตือนก็คือปฎิบัติการทำเกม อย่าพึ่งไว้วางใจไปครับ อย่าคิดว่าการเขียนโปรแกรมจะเร็วนะครับ เพราะลอจิกในการเขียนโปรแกรมมันคนละเรื่องกับการขึ้นโมเดลของทางทีมงานกราฟิก
ในแง่กราฟิกอาจจะเร็ว แต่การทำโปรแกรมมิ่งมันก็เปรียบเสมือนกับงานระบบโครงสร้าง ผมจะตัดประเด็นเรื่องจำพวกการวาง story board ด้านกราฟิกออกไปให้หมดเลยนะ เอาให้เหลือโปรแกรมมิ่งล้วน ๆ สิ่งที่คุณจะเจอต่อไปนี้คือ
1. ถ้าคุณขาดความเชี่ยวชาญในเรื่อง programming คุณจะไม่มีทางควบคุมงานได้เลย เพราะว่าคุณจะไม่ทราบเลยว่าเกมของคุณจะมีกี่ Function หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Function List เรื่องนี้ผมเองเคยเตือนคนมามากเกี่ยวกับงานระบบทั้งหลาย และก็มีหลายคนที่ไม่เชื่อบอกว่าไม่จำเป็นต้องรู้เขียนไปให้ได้ตามสิ่งที่ต้องการก็พอ สุดท้ายเละเลยครับ นอกจากแผนงานที่คุณทราบอยู่แล้วผมขอเสนอให้คุณวาง Function List ให้ได้ก่อนด้วยนะครับ Function List คือศิลปะของการออกแบบองค์ประกอบของชิ้นโปรแกรมได้สูงสุด System Analyst (SA) จะวิเคราะห์ได้เพียงแค่ว่าระบบนั้น ๆ จะมีรูปแบบของการทำงานเป็นเช่นไร หรือที่เรียกว่า Program Spec ก็คือไม่หนีออกจากขอบเขตที่วางเอาไว้ ดังนั้น SA ที่ดีจึงต้องมีความจำเป็นในการวาง Function ให้ละเอียดด้วย
2. ถ้าคุณมีแผนจะสร้างเกมอื่น ๆ อีก คุณควรจะวางระบบให้มีระเบียบหรือข้อตกลงออกมาเป็นมาตรฐานการเขียนโปรแกรม ถ้าเขียนเกมเดียวแล้วจบก็ไม่เป็นไรครับ หลักการนี้เค้าเรียกว่า Reusable Code หรือการนำชิ้นโปรแกรมกลับมา include ใหม่ ซึ่งมันก็คือชิ้น Function ที่ผมกล่าวมาจากข้อ 1 นั่นล่ะครับ ดังนั้นหากคุณมีแผนการทำเกมที่ 2 ที่ 3 ต่อไป คุณจะต้องมีสิ่งนี้ครับ เพราะถ้าคุณไม่มีคำนวณง่าย ๆ เลยครับ เกมที่ 2 จะใช้เวลาพัฒนาเท่ากับเกมที่ 1 และเกมต่อ ๆ ไปก็จะใช้เวลาพัฒนาเท่ากับเกมที่ 1 เสมอ แม้ว่าประสบการณ์คุณจะเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนก็ตาม มันเป็นเช่นนี้จริง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. แน่นอนว่ามนุษย์ทุกคนไม่สามารถคงอยู่ได้ในสภาวะหนึ่ง ๆ อย่างยาวนานได้ หมายถึง คงไม่มี Programmer คนไหนในโลกนี้ที่จะอุทิศตัวเพื่อเขียนโปรแกรมของคุณอย่างฟรี ๆ หรือเขียนเพื่อแลกข้าวไปวัน ๆ เป็นแรมปี ดังนั้น เมื่อถึงเวลาตามสัจจธรรม ซึ่งคุณก็ทราบดีอยู่แล้ว "อนิจัง ทุกขัง อนัตตา" Programmer เหล่านั้นก็จะต้องอัตธานลาออกไปทำภารกิจอย่างอื่น คุณอาจจะโชคดีได้คนมาทำงานจนจบเกม 1 เกม แต่ถ้าระหว่างนั้นคนเหล่านั้นเกิดเป็นอะไรไป คุณจะทำอย่างไร? ใครจะสามารถต่องานคุณได้บ้าง คุณจะมีอะไรที่บอกคนใหม่ได้ว่าเราพัฒนาไปแล้วถึงตรงไหน ผมอยากให้คุณนึกภาพตามที่ผมกำลังพูดนะครับ มันก็คงต้องไปเข้าข้อ 1 และข้อ 2 ด้วย และนั่นคือเอกสารที่คุณจะต้องทำไม่ใช่แค่เขียนโปรแกรม รันผลไปวัน ๆ อย่างไม่มีเป้าหมาย
4. คุณจะเจอเหตุการณ์ที่คุณคาดไม่ถึง บ้าน 1 หลัง 2 ชั้น ใคร ๆ ก็สร้างได้ หมายถึงช่างนะ แต่ทำไมสร้างด้วยเวลาที่ไม่เท่ากัน ฉันใดฉันนั้นครับ งานเขียนโปรแกรมที่ดีนอกจากข้อ 1-3 แล้ว คุณต้องทำ Test Case ครับ Test Case คืออะไร? ... Test Case ไม่ใช่การรันผลขึ้นมาดูว่าถูกรึเปล่า แต่ Test Case คือการที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่ Programmer ต้องมาทดสอบโปรแกรมที่เขียนด้วย Scenario หรือจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามที่วางโครงสร้างเอาไว้ มันมีทฤษฎีของการทำ Test อยู่หลายวิธี เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้และผมรู้ดีด้วยอย่าไปเชื่อข่าวมาก คือมีบริษัทแห่งหนึ่งโลโก้รูปใบพัดสีฟ้าทำการย้าย Data จากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งแล้วก็ล่มไป เป็นต้น อย่าคิดว่าเกมส์ไม่ต้องทำ Test Case เพราะมันจะมากับ Bug ที่คุณคาดไม่ถึงเสมอ เพราะคุณจะทำยังไงถ้าคุณเอาเกมส์ไปลงให้เด็ก ๆ เล่น แล้วเจอสิ่งที่คาดไม่ถึงทั่วประเทศ จะแก้ปัญหาสิ่งเหล่านั้นอย่างไรให้ทันท่วงที (อีกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ คือ การสอบ Online ของแกะและแพะ ลองดูแล้วกันว่าผู้ปกครองรู้สึกอย่างไร) นอกจาก Test Case ที่ผ่านแล้ว คุณยังต้องทำ UAT อีก เรื่องนี้ไว้ค่อยอธิบายมันเป็นศิลปะการทดสอบโปรแกรมที่ลึกซึ้งมาก
5. อย่าเชื่อว่าคอมพิวเตอร์บนโลกนี้ลงโปรแกรมคุณได้ 100% อีก 1 ปัญหาที่คุณจะพบเจอคือการ Implement หรือการ Deploy โลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ คุณจะมีแผนการ Deploy อย่างไร เมื่อคุณเจอหรือพบว่ามีบางเครื่อง Install แล้วเกิดปัญหา โดยที่คุณก็ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของระบบ ก็คงจะต้องหา System Engineer ดี ๆ ซักคนมาช่วยเรื่องนี้ซะแล้ว
เอาแค่ 5 ข้อนี้ก่อนนะครับ ยังมีอีกมากครับที่ผมยังไม่ได้พูด ผมเองก็ยอมรับว่าตัวเองไม่ได้เก่งกาจอะไร ก็ยังเอาชนะ 5 ข้อที่กล่าวผ่านมานี้ไม่ได้ 100% เลย ดังนั้นแล้วจงตระหนักให้สุด เวลาผมทำงานก่อนเขียนโปรแกรม ผมจะคิดถึงสิ่งที่ผมบอกนี้ก่อนเสมอเพื่อเตือนตัวเองไปในตัวครับ และก็ขอให้คุณสำเร็จในสิ่งที่คุณตั้งใจไว้ครับ
Date :
2012-01-15 01:10:15
By :
gunnermontana
คำแนะนำที่มอบให้ผม ผมสัญญาว่าจะนำไปทำความเข้าใจและจำเอาไปปฏิบัติน่ะครับ
คิดว่าส่วนที่ 3-4ข้อแรก ผมยังไม่มีครับ แต่ก็คงจะหาไม่ยากเท่าไหร่เพราะคุณได้แนะนำผมแล้ว
ส่วนการทำงานนั้น เท่าที่ผมสังเกตุดู อาสาสมัครใช้อุปกรณ์ในการสร้างเกมส์หลายโปรแกรมมาก ซึ่งผมคิดว่าการทำงานของเขา
ตอบสนอง ความต้องการของเราเป็นอย่างดี เพราะเครื่องมือที่ใช้สร้างเกมส์เกือบทุกอย่างทุกชนิด อาสาสมัครได้ทดสอบและประเมินผลดีผลเสีย ก่อนนำมาใช้งาน ส่วน System Engineer ผมคิดว่าน่าจะมีแล้วซึ่งก็คือพนักงานด้านความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ในโครงการนี่เองครับ ซึงเขาก็ทำงานดูและระบบความปลอดภัยในบริษัทเกมส์ออนไลน์แห่งหนึ่งด้วย (ไม่รู้มันเกี่ยวกันตรงใหน แต่เขายืนยันว่าสามารถทำงานนี้ได้)
ส่วนคำว่า Scenario เท่าที่ผมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนจะตัดสินใจเขียนเกมส์ขั้นตอนนี้มันไม่ได้อยู่Test Caseนี่ครับ เพราะว่ามันเป็นการวางแผนรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
เท่าที่มีผู้แนะนำมา มันอยู่ในขั้นตอนที่เราเริ่มวางแผนสร้างเกมส์ในตอนแรกก่อนลงมือเขียน ซึ่งบางคนเรียกว่า plant B
ส่วนTest Case เท่าที่ฟังจากผู้ที่เคยทำงานด้านนี้ เขาบอกว่ามันใช้ในกรณีที่เราสร้างโปรแกรมอย่างเดียวนี่ครับ ส่วนในกรณีที่เราสร้างเกมส์
น่าจะเรียกว่า Closebeta เพราะว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ทดสอบความพร้อมโดยจำกัดผู้เล่นและตรวจสอบบั๊กต่างๆและผู้ที่ตรวจสอบก็คือ
gamasterกับผู้เล่น เช่นที่บริษัทเกมส์ใหญ่ๆเขาทำกัน (เพราะก่อนที่ผมจะตัดสินใจทำผมก็หาข้อมูลจากบริษัทที่สร้างเกมส์นี่แหละครับ) ลำดับการทำงานของคุณ ดูคล้ายๆการทำงานของ PenTester Case (เจ้าหน้าที่รักษาทดสอบระบบความปลอดภัยและค้นหาช่องโหว่ของระบบ) หรือผมอาจะคิดไปเอง เพราะผมคุ้นเคยกับคำนี้มาก ส่วนFunction List ต้องยอมรับครับว่า ผมไม่รู้เรื่องนี้จริงๆ และก็มองข้ามจุดนี้ไปต้องขอบคุณที่แน่ะนำครับ
ตอนนี้ที่เรามีปัญหาก็คือการคำนวณเรื่องแสงที่มีผลต่อสายตาเด็ก กับฉากในเกมส์ ที่ต้องการให้เด็กได้พักสายตาบ้างเพื่อป้องกันรังสีจากคอมพิวเตอร์ จุดมุ่งหมายก็คือ ทุกๆ10นาทีให้เด็กได้พักสายตา ตามการวิเคราะห์ของจักษุแพทย์ แต่การลดสีฉุดฉาดและลดจำนวณรังสีแกมม่าลงไปส่งผลให้สิ่งเร้าในเกมส์ ถูกลดความสนใจตามลงไปด้วย ผมกำลังทดสอบว่าจะใช้สีใหนที่สามารถสร้างอารมณ์เร้าทางสมองให้เกิดขึ้นโดยไม่มีผลกระทบต่อสายตาเด็กบ้าง
ประวัติการแก้ไข 2012-01-15 06:07:45
Date :
2012-01-15 06:05:41
By :
worajito
เอาเข้าจิงยังไม่แน่ใจว่าอาจารย์จะลงมาเขียนทำไม หรือว่าโครงการนี้ติดตรงประเด็นเรื่องค่าตอบแทน
แต่หลายองค์กรของไทยๆเองยังทำงานให้สังคมได้ สับสนว่าทำไมเอาทักษะโปรแกรมมิ่งมาเป็นหัวใจหลัก
กระทั่งงานที่นำเสนอกันในปัจจุบัน บางชิ้นขึ้นรูปมาด้วย php 4.0 บ้าง asp.net 1.1 บ้าง
การทำอะไรๆอย่าง unit test ก็ดี หรือการจะ methodology ใดๆมากำกับก็ดี มันจำเป็นไหม
งานนี้ทั้งตัว project ส่วนตัวคิดว่าเป็นระดับ test app อยู่แล้วไม่ว่ามันจะสมบูรณ์คือไม่มี bug อะไร deploy อะไรได้หมด
แต่แนวคิดที่พัฒนาเป็นแนวคิดใหม่ ที่ยังลองว่าตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายจะตอบสนองพอไหม
ต่อให้โปรแกรมใช้เทคนิคก้าวหน้าเพียงไหนถ้า user ปฎิเสธ มันก็จบค่ะไม่คุ้มค่าอะไรเลย
ในการทำงานแบบไม่หวังผลตอบแทนโดยลักษณะงานหากผู้ปฏิบัติยังภูมิใจและเชื่อว่าสิ่งที่ทำเป็นประโยชน์
มีความสำคัญแต่ตัวเองหรือสังคม ตราบนั้นจะยังมีทีมงานอยู่เสมอค่ะ ยกตัวอย่างกันง่ายๆที่เห็นเป็นรูปธรรม
ก็ทีมงาน "รู้สู flood" นั่นเป็นทีมงานที่ไม่มีทักษะ programming อะไรมากมาย แต่ตัวงานยังบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี
ตัวทักษะโปรแกรมมิ่ง ท้ายสุดแล้วผู้ที่บัญัติเองมักจะ comment เสมอว่าให้ใช้เท่าที่จำเป็น
ถ้าใช้แล้วมันเป็นภาระรุงรังทำให้เป็นตัวถ่วงอีกทั้งยังไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจำเป็นต้องมี ตัดทิ้งไปอย่าลังเลค่ะ
แต่ตัวเราจำเป็นต้องทราบต้องวางแผนว่าต้องใช้เท่าไรจึงจะพอดี เหมาะสมกับงานที่ต้องการก็น่าเพียงพอ
ความเห็นส่วนตัว อาจารย์น่าจะประกาศโครงการนี้เป็นกิจลักษณะจะเป็น opensource หรือจะใช้ลิขสิทธิ์แบบใดมากำกับ
แล้ววางแผนโครงงาน หาทีมงานที่เต็มใจแล้ววางแผนบริหารการจัดการไปตามกำลังเลยค่ะ
เพื่อให้ตัวโปรเจคเป็นรูปร่างออกมา ถ้าเป็นงานที่ยังอยู่ในภาวะที่ต้องตกผลึกความคิดก็อย่าไปคาดหวังอะไรมาก
แต่ตัวงานที่เสร็จออกมาจะเป็นรางวัลในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้ามัวรีนอจะให้ฝีมือหรือทักษะมันเต็มที่หรือครบตามมารฐานที่คนอื่นกำหนด
นั่นเท่ากับเอาอุปสรรคมากองไว้ตรงหน้าแล้วค่ะ ถ้าใช้เครื่องมือใดเขียนแบบไหนมาก่อน
และถ้ามันให้ผลลัพธ์ที่ดี พอจะยอมรับและทำงานกันเป็นทีมได้ หยิบออกมาใช้เลยค่ะ
จากประสบการณ์ที่ใช้งานจะช่วยปรับแต่งให้เป็นทักษะที่แหลมคมได้เอง
เราไม่ได้เขียนพื่อประกวดรางวัล the best of software engineer นี่คะ นี่เป็น realworld app
เรากำหนดยังวิธีการพัฒนามันได้ เราบอกได้ว่านี่แหละมาตรฐานของเรา จากนั้นโลกจะตัดสินเราอีกทีค่ะ
ยกตัวอย่างกันง่ายๆ อย่างที่คุนอะไรนั่นแนะนำให้ test cat (จงใจเขียนค่ะ) ให้มีการนั่นนี้ ใช่ถ้าเปรียบเทียบนั่นคือ
การยกเครื่องแบบรถฟอร์มูล่าวัน มันดีอยู่แล้ว เร็วที่สุดในโลก ปลอดภัยมากด้วย
แต่นี่รถขนผักติดระบบเบรค abs ก็น่าจะพอแล้วมั้งคะ ตัวถังนิรภัยนิดหน่อย ก้อขนผักทำมาหากินได้แล้วค่ะ
ให้มันเพียงพออย่าไปคิดไรมาก งานเขียนโปรแกรมมันยากอยู่แล้วอย่าไปยึดติดกับอะไรมากค่ะ
ทำให้จบตามวัตถุประสงค์ กำหนดเวลา ด้วยกำลังเท่าทีมีดูจะเป็นไปได้นะคะ
Date :
2012-01-15 22:34:46
By :
สาวเอ๋อ
อยากจะแนะนำน่ะครับว่า
ถ้าหากคุณจะทำเกมส์เพื่อการค้าหรืออาจต้องการความละเอียดสูง
คุณควรให้ความสนใจด้านการกราฟฟิคให้มากกว่าโปรแกรมมิ่งเสียอีก
จากรูปล่าสุดที่นำมาให้ชม น่าจะดัดแปลงให้เหมาะกว่านี้น่ะครับ
ซึ่งสิ่งที่คุณ ทำหากมันเป็นเกมส์3Dคุณควรเรียนรู้เีรื่อง OpenGL
ด้วย แต่หาก ไม่มีก็ใช้โปรแกรมจำพวก Dx น่าจะง่ายกว่า
และก็ เรื่องโปรแกรมกราฟฟิคที่เอามาให้ดู อยากแนะนำว่า
DAZ3D ถึงแม้ว่าจะสร้างโมเดลง่าย แต่ว่า มันแรนเดอร์เป็นไฟล์ .X
หรือไฟล์ animateต่างๆไม่ค่อยได้ ฉะนั้น เวลาโมเดลสร้างเสร็จ
คุณก็ต้องมานั่ง สร้างเฟรมแต่ล่ะเฟรมซึ่งใช้เวลานาน ผมแนะนำให้ใช้งาน
MilkShape 3D 1.8.5 ,Autodesk Maya 2011 Autodesk 3ds Max 2011 32-bit
ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ออกแบบได้ค่อนข้างดีและรองรับการนำไปเป็นโมเดลสร้างเกมส์
ได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องมานั่งสร้างเฟรมให้ยุ่งยาก ปัญหาที่คุณจะพบในการสร้างเกมส์คือ
ขนาดและความเหมาะสมของโมเดล เมื่อเอาไปใช้งานจริง โมเดลที่คุณสร้าง บางชิ้นอาจเล็กอาจใหญ่
ไม่สมดุล ซึ่ง ทุกคนที่สร้างเกมส์จะต้องพบเจอเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณจะต้องแก้ใขมันให้ได้ ถ้าแก้ใขได้คุณก็คงไม่มีปัญหา
การใช้งาน .net ในการเขียนเกมส์ไม่ว่าภาษาใดก็ตามคุณต้องคิดใว้ว่า คุณไม่สามารถย่อขยายออปเจ็คต่างๆ เหมือนกับ unity ได้
เพราะฉะนั้นต้องวางแผนในส่วนนี้ตั้งแต่ตอนที่ออกแบบโมเดล เจ้าหน้าที่ด้านโปรแกรมของคุณจะได้ไม่มานั่งปวดหัวในการเขียนโค๊ด
เพื่อย่อส่วนขยายส่วน และจะประหยัดเวลาได้มาก ของจริงไม่ง่าย แต่คงไม่ยากถ้าคุณตั้งใจทำและวางแผนดี
ด่านกราฟฟิค เป็นด่านหินในการสร้างเกมส์ เกมส์จะมีคนเล่นหรือไม่เล่นอยู่ที่การนำเสนอและรูปแบบของเกมส์
กราฟฟิคก็เป็นอีกหนึ่งการนำเสนอที่คุณต้องทำมันให้ดี ส่วนการเขียนโปรแกรมนั้น คงไม่ยากหากคุณทำความเข้าใจสักพัก
มันก็แค่การเขียนโปรแกรมให้โหลดภาพตามเงื่อนใขโดยมีเหตุการณ์เป็นตัวกำหนด แล้วมีฟอร์มเป็นตัวแสดงออก ซึ่งมี เมาส์จอยคีย์บอร์ด
เป็นตัวส่งค่าการทำงาน ถ้าคุณมีพื้นฐานอยู่บ้างคงจะฟังเข้าใจ
Date :
2012-01-15 23:05:28
By :
คนสร้างงาน
ถ้าผลประเมินออกมาว่าเป็นผักที่ให้คุณค่า
อย่าว่าแต่ฟอร์มูล่าวันเลยต่อให้เป็นกระสวยอวกาศก้อต้องสร้างไปเก็บเจ้าผักนี่มาค่ะ
เน้นไปที่สื่อเจตจำนงค์ที่ต้องการเสนอให้มันโดดเด่นและคมชัดเอาไว้ ถ้าสื่อสารอย่างนี้ออกไปได้
โปรเจคนี้ก็น่าจะมีอนาคต และทีมงานที่ 2 ที่ 3 จะเก็บรายละเอียดที่เหลือเองค่ะ
เลยสงสัยว่าตัวอาจารย์เองจะวางตัวในตำแหน่งอะไร
ให้น้ำหนักระดับตรงส่วนไหนของโปรเจคมากน้อยขนาดไหน อย่างไร ยังไง กับใคร และเมื่อไหร่
เพราะดูเหมือนอาจารย์จะเริ่มเป็นแม่บ้านมากกว่าจะเป็นหัวหน้าทีมแล้วนะคะ
ลองหาทีมงานแล้วปรึกษาดูค่ะว่าเครื่องมือเครื่องใช้จะเป็นอะไร ถ้าใช้ของใหม่มันก้อต้องเสียเวลาในการเรียนรู้
ยิ่งเครื่องมือซับซ้อนก้อยิ่งใช้เวลามาก ว่ากันตามจริงนี่อาจจะเป็นการเอามะพร้าวห้าวไปเสนอขาย
ให้เจ้าของสวนมะพร้าวส่งออกด้วยละมังเนี่ยคะ ไปค่ะไปลองเก็บผักกันมาดูมันจะทำอะไรให้เราได้มั่ง
Date :
2012-01-16 12:16:10
By :
สาวไร่อ้อย
ตอบความคิดเห็นที่ : 23 เขียนโดย : สาวไร่อ้อย เมื่อวันที่ 2012-01-16 12:16:10
รายละเอียดของการตอบ ::
555+เป็นแม่บ้านเหรอ ฟังดูก้ตลกดีน่ะ แต่ผมก็ำทำงานจนลืมมองตัวเองเหมือนกัน
เพราะผมคิดว่าอะไรที่เราพอจะทำได้เราก็ควรที่จะทำ งานวิจัยไม่ได้ใช้แต่ความรู้อย่างเดียว
ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์ด้วย เพราะถ้าผมไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียน ใครจะเขียนได้ถูกต้อง
ตามรูปแบบทฤษฎีที่เราวางใว้ ความจริงผมก็ไม่ใช่หัวหน้า แต่ว่าผมก็เป้นเหมือนแขนขา
เปรียบเทียบไปแล้ว ผมก็เป็นหัวหน้าในงานวิจัยย่อยๆ ไม่ได้ใหญ่โตอะไร
ความจริงผมไม่ใช่คนที่ถือตัวอะไรมากมาย ผมให้น้ำหนักความสำคัญไปที่เยาวชน
ทุกๆคนในประเทศ เพราะเยาวชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดงานนี้
ส่วนทีมงาน ผมคิดว่าน่าจะเพียงพอแล้วครับ
เพราะอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ ทุ่มเทพอสมควร และก้สร้างงานมาดีมาก
ถ้าในความคิดผมมันโอเคแล้ว แต่ว่าอาสาสมัครเขาบอกว่าเขาต้องการทำให้ดีที่สุด
ก็เลยต้องปล่อยเขา ขอบคุณครับ
Date :
2012-01-16 15:04:28
By :
worajito
จากความเห็น No 20. การเห็นความสำคัญของทักษะการโปรแกรมมิ่งถือเป็นหัวใจหลักอยู่แล้วครับ แต่จริง ๆ แล้วทุกส่วนสำคัญหมด การที่คุณบอกว่ามันเป็น test app อยู่แล้ว ความหมายของคุณตรงนี้หมายถึงอะไรครับ ถ้าหมายถึงเขียนไป ทดสอบไป แล้วให้จบ project อันนี้จะกล่าวผิดถนัดเลยครับ เกมส์คือซอฟร์แวร์ประเภทหนึ่งนะครับ ไม่ใช่งานกราฟิกที่เอามา render เฉย ๆ ดังนั้นคุณจะยกตัวอย่างทีมงานรู้สู้ flood มาเปรียบเทียบไม่ได้ครับ มันคนละเรื่องกันเลย ถ้าคุณจะเปรียบเทียบต้องเทียบกับทีมงานสร้างเกมส์ครับ และต้องเป็นเกมแนวทางเดียวกันครับ คือถ้าคิดจะทำเกม 3D ก็จะไม่สามารถเอาเกมแนว 2D มาเทียบได้ ที่อ่านมาเห็นมีความเห็นบอกว่าให้ลองจากอะไรง่าย ๆ เช่น pacman ก่อน ก็เลยขอยกตัวอย่างให้เห็นเชิงรูปธรรมแบบง่าย ๆ เช่น คุณเก่งในการทำอาหารมากเลย โดยทำไข่เจียว เชี่ยวชาญมาก แต่คุณคงจะไม่เอาทักษะการทอดไข่เจียวมาทำต้มยำกุ้งใช่มั้ย ฉันใดฉันนั้น แม้ว่าคุณจะมีประสบการณ์ในการเขียนเกม 2D มากแค่ไหนก็ตาม คุณก็จะไม่สามารถเอาประสบการณ์นั้นมา Apply กับงานเกม 3D ได้เลยแม้แต่น้อย บอกได้เลยว่าไม่ได้เลยจริง ๆ ครับ เพราะใช้สูตรการทำงานคนละเรื่องเลย
จริง ๆ ผมกล่าวเร็วไป สิ่งที่ต้องตระหนักมันต้องเริ่มจากการศึกษาความเป็นไปได้ก่อน ผมนึกถึงวงจร SDLC (System Development Life Cycle) ผมจะไม่อธิบาย SDLC นะครับ ให้หาอ่านตาม Google เอาเอง แต่ผมจะบอกว่าการทำงานเป็นทีมคุณต้องมีเรื่อง SDLC ครับ ในนั้นก็ต้องมี test case ครับ ไม่ได้เกี่ยวกับการยกเครื่องรถฟอร์มูล่าอะไรเลย แต่เป็นรูปแบบของการบริหาร project ที่ทุกบริษัทต้องทำอยู่แล้ว แต่ก็อย่างว่าครับสมัยนี้คนเราเอาง่ายเข้าว่าละเลยการทำงานแบบเป็นระบบ
ที่คุณบอกว่า "ท้ายสุดแล้วผู้ที่บัญัติเองมักจะ comment เสมอว่าให้ใช้เท่าที่จำเป็น ถ้าใช้แล้วมันเป็นภาระรุงรังทำให้เป็นตัวถ่วงอีกทั้งยังไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจำเป็นต้องมี ตัดทิ้งไปอย่าลังเลค่ะ"
ก็ผมเตือนอยู่ว่าคุณรู้แล้วรึยัง ในตัว Function List จะมีอะไรบ้าง ถ้าคุณไม่รู้มันก็จะเข้า loop ที่คุณบอกนี้ล่ะครับ ในเมื่อเอาง่ายเข้าว่าผลลัพธ์ก็จะออกมาเหมือนเดิมเสมอ (อย่าคิดว่าทีมมีอยู่แค่ 4-5 คน จะเอาอะไรกันมากมาย ผมไม่ได้บอกว่าการทำ SDLC จะเพิ่มงานนะ เพียงแต่ผมจะอธิบายว่าการทำ SDLC คือการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
จะซอฟต์แวร์อะไรก็ตาม หมายถึง จะเขียนเพื่อประกวดรางวัล หรือไม่ประกวดก็ตาม สุดท้ายแล้วก็ต้องคุมด้วย SDLC ครับ
จาก link นี้ http://www.welovebug.com/software-testing/software-testing-game-tester-part01/
เป็นตัวอย่างของบางบริษัทที่ไม่เชื่อเรื่อง SDLC อยากให้ลองอ่านมุมมองของ Game Tester ดูครับ
Date :
2012-01-17 01:04:04
By :
gunnermontana
ผมเห็นกระทู้นี้คาบอร์ดมาหลายวันแล้ว และดูเหมือนกระแส ถกเถียงจะร้อนขึ้นทุกวัน
ผมเลยคิดว่า น่าจะเข้ามามีส่วนร่วมหาข้อสรุป เอาง่ายๆว่าผมเป็นคนเขียนเกมส์และสร้างเกมส์
มาด้วย.net ผมคิดว่าพอจะแนะนำท่าน จขกทได้บ้่าง การสร้างเกมส์นั้นแบ่งรูปแบบการทำงานดังนี้
การสร้างเกมส์สามารถสร้างได้2วิธีคือ
1.สร้างด้วยโปรแกรมสร้างเกมส์
2.สร้างด้วยการเขียนโปรแกรม
จุดมุงหมายในการสร้างเกมส์ มีอยู่3อย่างคือ
1.สร้างเพื่อการค้า(มีเยอะหาดูเอา)
2.สร้างเพื่อเล่นเอง (เช่นAGM)
3.สร้างเพื่อเพิ่มทักษะบางอย่าง(เช่นเกมส์พิมดีด)
ก็เพิ่งเห็นท่านนี้แหละที่สร้างเพื่องานวิจัยกับปลูกฝังพฤติกรรม ซึ่งเห็นแล้วพิสดารมาก
ผมจะอธิบายแค่3อย่างด้านล่าง ส่วน2ข้อด้านบนคงเข้าใจกันหมดแล้ว
1.สร้างเพื่อการค้า สิ่งที่ต้องมีแบ่งเป็น6คือ
1.โปรดิวเซอร์
(มีทั้งหมดสามคน คือ โปรดิวเซอร์กราฟิค โปรดิวเซอร์เสียง โปรดิวเซอร์โปรแกรม ทั้งสามคนนี้แบ่งหน้าที่กันออกแบบแต่ละจุด)
2.ทีมงานกราฟิค
(มี3คนเช่นกัน ออกแบบฉาก ตัวละคร และพื้นผิว)
3.ทีมงานด้านเสียง
(อันนี้มีคนเดียว แต่ถ้าเกมส์ที่อลังการมากๆจ้างบริษัทดนตรีเขาทำจะดีกว่า)
4.ทีมงานด้านโปรแกรม
(อย่างน้อย4-5คน แบ่งส่วนกันทำแล้วเอาทุกอย่างมารวมกันถ้าคนเดียวอาจกินเวลาเป็นปีเกมส์ที่เล่นจบแค่1ชมอาจใช้เวลาสร้าง1ปี)
6.ทีมทดสอบมาตรฐาน
(มีแค่ทีมเดียวแต่ปัจจุบันใช้โปรแกรมตรวจสอบทั้งหมด ที่เราเรียกว่าโปรแกรมบอทนั้นแหละ ทุกบริษัทเขามีไม่ต้องจ้างก็ได้แม่นยำกว่าคนด้วยซ้ำ)
2.สร้างเพื่อเล่นเอง
ไม่ต้องมีอะไรมาก ความรู้ด้านกราฟฟิคเล็กน้อย ด้านโปรแกรมหน่อยๆ
ปัจจุบันมีซอท์พแวร์เขียนเกมส์สำเร็จรูปมากมาย ออกวางขาย
ซึ่งง่ายกว่าการมานั่งเขียนโค๊ดเยอะเลย นักโปรแกรมบางคน
ถึงกับเปลี่ยนมาใช้ซอพท์แวร์เหล่านี้เขียนแทนเพราะมันง่ายเร็วและสะดวกทั้งยังเนียนกว่าด้วยในบางโปรแกรมน่ะ
ผมเองคนหนึ่ง ที่เขียนเกมส์ขายโดยไม่มีทีมงาน และตรวจมาตรฐานผ่านโปรแกรมบอท
โปรแกรมบอทคือโปรแกรมที่เราแก้โค๊ดในเกมส์ให้ตัวละคร เล่นเกมส์เองถ้าบอทมันเอ๋อแสดงว่าเกมส์คุณห่วย
ถ้ามัวมานั่งเล่นจนจบเกมส์คงเสียเวลาทางการค้าไม่ใช่น้อย ปัจจุบันนี้มีสมาคมนักพัฒนาเกมส์ที่สามารถช่วยเหลือคุณได้
ในทุกอย่างเกี่ยวกับเกมส์ ลองไปศึกษาดู ส่วนข้อ3คงเหมือนกันกับข้อ1หรือข้อ2แล้วแต่ผู้พัฒนาว่าจะให้ไปในทิศทางใหน
ถ้ามีโอกาสผมจะเอาโค๊ดมาให้ศึกษา
Date :
2012-01-17 04:36:44
By :
กรรมการ
หลังจากนี้ผมก็คงจะต้องเอาโค๊ด และวิธีการทำงานมาเสนอท่าน จขกท โดยผมขออธิบายว่า โค๊ดที่ใช้ในการเขียนเกมส์นั้นจะแบ่งกันเป็นกลุ่มเป็นหมวดหมุ่ของใครของใครของมันเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ ซึ่งเกมส์ที่ผมนำมาเสนอนั้นขออนุญาติให้เครดิตเจ้าของจาก thaixna.com ศุนย์รวมผู้เชียวชาญด้านการสร้างเกมส์ด้วยxna และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักพัฒนาเกมส์ถ้าหากว่างก็ลองเข้าไปดูบ้าง ดีกว่ามานั่งอ่านทฤษฏีย์มั่วๆไปวันโดยไม่รู้ว่าคนที่มาแสดงความคิดเห็นเขาเขียนเกมส์กันเป็นรึเปล่า ดูแล้วคล้ายนักวิชาการมากกว่านักปฏิบัติการ เพราะนอกจากมาถกกันแล้วไม่เห็นจะแสดงอะไรที่มันมีประโยชน์ในการเขียนเกมส์ออกมาเลย เห็นแต่มาตั้งสมมติทฤษฏีกับการลำดับความยืดยาวที่ดูแล้ว คนเขียนเกมส์เองก็ยัง งงๆว่ามันทำไมยุ่งยากจังก็แค่สร้างเกมส์ไม่ได้สร้างกระสวยอวกาศซักหน่อย ผมอยากจะบอกว่าการเขียนเกมส์มันไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยถ้าพวกคุณตั้งใจศึกษาและนำไปปฏิบัติไม่ใช้เอาทฤษฏีมาเถียงกัน ควรที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่า เอาล่ะพล่ามมากเดียวผมจะพลอยโดนด่าไปด้วย งั้นผมขอแนะนำการทำงานในการสร้างเกมส์เลยน่ะ โดยที่
ผมจะแบ่ง ฟังชั่นโค๊ดใว้ทั้งหมดดังนี้
1.AnimationStrip ควบคุมตัวละครที่เคลื่อนใหวอัตโนมัติ
2.Enemy ควบคุมEventของตัวละครที่เคลื่อนใหวอัตโนมัติ
3.Games หัวใจหลักของการทำงาน ควบคุมการแสดงผล Eventของตัวละคร และรวมทุกอย่างมาใว้ในนี้ การวาดภาพลงบน FORM ฯลฯ
4.GameObject ควมคุมทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนแผนที่ที่เรากำหนด เช้นการเช็กชน การตั้งค่าการเกิดและจำนวนของศัตรูในแผนที่
5.Player เก็บสถิติและข้อมูลต่างๆของผู้เล่น เช่น Level เลือด และกำหนดเงื่อนใขให้ผู้เล่นเช่นถ้าตายแล้วจะให้ไปเกิดที่ใหน
6.program กำหนดรูปแบบการทำงานของเกมส์ว่าให้ทำงานบนเงื่อนใขอะไรบ้างและเรียกระบบใหนมารันโปรแกรม Win32หรือ Xbox หรือ อื่นๆ
7.Map Editer การเรียงลำดับแผนที่บรรยากาศ และเงื่อนใขย่อยๆ จำเป็นต้องสร้างไฟล์rspx เพื่อประมวลผลชิ้นงานผ่านคำสั่ง DRAW
8.camera ควมคุมมุมกล้อง ว่าจะให้ติดตามObject ตัวใดบ้าง
9.MapSquare กำหนดการแดงผลค่าสีในแผนที่ และเรียงลำดับLayer ต่างๆของเกมส์
10.TileMap กำหนดความกว้งความยาวของแผนที่ในเกมส์ และเงือนใขการแสดงผลของแผนที่เช่นเมื่อสิ้นสุดแผนที่นี้จะไปต่อที่แผนที่ใด
ทั้งหมดนี้เมื่อเราสร้างเสร็จแล้ว มันจะเป็นไฟล์ .CSทั้งหมดจะเชื่อมโยงกันเหมือนเฟืองเครื่องยนต์ในรถ
และจะทำงานตามลำดับขั้นตอนอย่างไม่สับสนกัน แต่จะเอาใว้ในไฟล์เดียวกันก้อได้ แต่ไม่ค่อยดีนักเพราะยากแก่การตรวจสอบ
Date :
2012-01-17 08:54:30
By :
คนสร้างเกมส์
หลังจากอ่านข้ออธิบายของผมเข้าใจหมดแล้ว ทีนี้ก็มาดูตัวอย่างโค๊ดกันดีกว่าครับ นี้เป็นตัวอย่างโค๊ดในAnimationStrip
Code (C#)
using System;
using System.Collections.Generic;
using System.Linq;
using System.Text;
using Microsoft.Xna.Framework;
using Microsoft.Xna.Framework.Graphics;
namespace Gemstone_Hunter
{
public class AnimationStrip
{
#region Declarations
private Texture2D texture;
private int frameWidth;
private int frameHeight;
private float frameTimer = 0f;
private float frameDelay = 0.05f;
private int currentFrame;
private bool loopAnimation = true;
private bool finishedPlaying = false;
private string name;
private string nextAnimation;
#endregion
#region Properties
public int FrameWidth
{
get { return frameWidth; }
set { frameWidth = value; }
}
public int FrameHeight
{
get { return frameHeight; }
set { frameHeight = value; }
}
public Texture2D Texture
{
get { return texture; }
set { texture = value; }
}
public string Name
{
get { return name; }
set { name = value; }
}
public string NextAnimation
{
get { return nextAnimation; }
set { nextAnimation = value; }
}
public bool LoopAnimation
{
get { return loopAnimation; }
set { loopAnimation = value; }
}
public bool FinishedPlaying
{
get { return finishedPlaying; }
}
public int FrameCount
{
get { return texture.Width / frameWidth; }
}
public float FrameLength
{
get { return frameDelay; }
set { frameDelay = value; }
}
public Rectangle FrameRectangle
{
get
{
return new Rectangle(
currentFrame * frameWidth,
0,
frameWidth,
frameHeight);
}
}
#endregion
#region Constructor
public AnimationStrip(Texture2D texture, int frameWidth, string name)
{
this.texture = texture;
this.frameWidth = frameWidth;
this.frameHeight = texture.Height;
this.name = name;
}
#endregion
#region Public Methods
public void Play()
{
currentFrame = 0;
finishedPlaying = false;
}
public void Update(GameTime gameTime)
{
float elapsed = (float)gameTime.ElapsedGameTime.TotalSeconds;
frameTimer += elapsed;
if (frameTimer >= frameDelay)
{
currentFrame++;
if (currentFrame >= FrameCount)
{
if (loopAnimation)
{
currentFrame = 0;
}
else
{
currentFrame = FrameCount - 1;
finishedPlaying = true;
}
}
frameTimer = 0f;
}
}
#endregion
}
}
จากโค๊ดจะเห็นการทำงานของตัวละครที่ไม่มีการควบคุม ซึ่งเราเรียกว่า NPC หรือ No player carectersจะบ่งบอกถึงเฟรมต่างๆมากมาย
ในเมื่อมีพื้นฐานอยู่บ้างคงอ่านโค๊ดไม่ยากเท่าไหร่
Date :
2012-01-17 09:01:23
By :
คนสร้างเกมส์
มาถึงตรงนี้ก็คือการสร้างEnemy ควบคุมEventของตัวละครที่เคลื่อนใหวอัตโนมัติ(พวกศัตรูต่างๆ) Code (C#)
using System;
using System.Collections.Generic;
using System.Linq;
using System.Text;
using Microsoft.Xna.Framework;
using Microsoft.Xna.Framework.Content;
using Microsoft.Xna.Framework.Graphics;
using Tile_Engine;
namespace Gemstone_Hunter
{
public class Enemy : GameObject
{
private Vector2 fallSpeed = new Vector2(0, 20);
private float walkSpeed = 60.0f;
private bool facingLeft = true;
public bool Dead = false;
#region Constructor
public Enemy(ContentManager content, int cellX, int cellY)
{
animations.Add("idle",
new AnimationStrip(
content.Load<Texture2D>(
@"Textures\Sprites\MonsterC\Idle"),
48,
"idle"));
animations["idle"].LoopAnimation = true;
animations.Add("run",
new AnimationStrip(
content.Load<Texture2D>(
@"Textures\Sprites\MonsterC\Run"),
48,
"run"));
animations["run"].FrameLength = 0.1f;
animations["run"].LoopAnimation = true;
animations.Add("die",
new AnimationStrip(
content.Load<Texture2D>(
@"Textures\Sprites\MonsterC\Die"),
48,
"die"));
animations["die"].LoopAnimation = false;
frameWidth = 48;
frameHeight = 48;
CollisionRectangle = new Rectangle(9, 1, 30, 46);
worldLocation = new Vector2(
cellX * TileMap.TileWidth,
cellY * TileMap.TileHeight);
enabled = true;
codeBasedBlocks = true;
PlayAnimation("run");
}
#endregion
#region Public Methods
public override void Update(GameTime gameTime)
{
Vector2 oldLocation = worldLocation;
if (!Dead)
{
velocity = new Vector2(0, velocity.Y);
Vector2 direction = new Vector2(1, 0);
flipped = true;
if (facingLeft)
{
direction = new Vector2(-1, 0);
flipped = false;
}
direction *= walkSpeed;
velocity += direction;
velocity += fallSpeed;
}
base.Update(gameTime);
if (!Dead)
{
if (oldLocation == worldLocation)
{
facingLeft = !facingLeft;
}
}
else
{
if (animations[currentAnimation].FinishedPlaying)
{
enabled = false;
}
}
}
#endregion
}
}
คงจะดูเข้าใจน่ะครับ
Date :
2012-01-17 09:06:53
By :
คนสร้างเกมส์
โค๊ดเหล่านี้มีทั้งหมดสิบโค๊ด หากท่านจขกทอยากได้ก็โพสบอกล่ะกันผมจะสมัครสมาชิคและPMไปหาท่านเองแต่ก่อนอื่นขอเสนอหัวใจหลัก่อนนั้นก็คือ.Games.CSที่รวมคำสั่งในการควบคุมในระหว่งผู้เล่นรวมถึงคำสั่งอัพเดทด้วย ซึ่งโค๊ดจะมีดังนี้ครับ
Code (C#)
using System;
using System.Collections.Generic;
using System.Linq;
using Microsoft.Xna.Framework;
using Microsoft.Xna.Framework.Audio;
using Microsoft.Xna.Framework.Content;
using Microsoft.Xna.Framework.GamerServices;
using Microsoft.Xna.Framework.Graphics;
using Microsoft.Xna.Framework.Input;
using Microsoft.Xna.Framework.Media;
using Tile_Engine;
namespace Gemstone_Hunter
{
/// <summary>
/// This is the main type for your game
/// </summary>
public class Game1 : Microsoft.Xna.Framework.Game
{
GraphicsDeviceManager graphics;
SpriteBatch spriteBatch;
Player player;
SpriteFont pericles8;
Vector2 scorePosition = new Vector2(20, 580);
enum GameState { TitleScreen, Playing, PlayerDead, GameOver };
GameState gameState = GameState.TitleScreen;
Vector2 gameOverPosition = new Vector2(350, 300);
Vector2 livesPosition = new Vector2(600, 580);
Texture2D titleScreen;
float deathTimer = 0.0f;
float deathDelay = 5.0f;
public Game1()
{
graphics = new GraphicsDeviceManager(this);
Content.RootDirectory = "Content";
}
/// <summary>
/// Allows the game to perform any initialization it needs to before starting to run.
/// This is where it can query for any required services and load any non-graphic
/// related content. Calling base.Initialize will enumerate through any components
/// and initialize them as well.
/// </summary>
protected override void Initialize()
{
// TODO: Add your initialization logic here
this.graphics.PreferredBackBufferWidth = 800;
this.graphics.PreferredBackBufferHeight = 600;
this.graphics.ApplyChanges();
base.Initialize();
}
/// <summary>
/// LoadContent will be called once per game and is the place to load
/// all of your content.
/// </summary>
protected override void LoadContent()
{
spriteBatch = new SpriteBatch(GraphicsDevice);
TileMap.Initialize(
Content.Load<Texture2D>(@"Textures\PlatformTiles"));
TileMap.spriteFont =
Content.Load<SpriteFont>(@"Fonts\Pericles8");
pericles8 = Content.Load<SpriteFont>(@"Fonts\Pericles8");
titleScreen = Content.Load<Texture2D>(@"Textures\TitleScreen");
Camera.WorldRectangle = new Rectangle(0, 0, 160 * 48, 12 * 48);
Camera.Position = Vector2.Zero;
Camera.ViewPortWidth = 800;
Camera.ViewPortHeight = 600;
player = new Player(Content);
LevelManager.Initialize(Content, player);
}
private void StartNewGame()
{
player.Revive();
player.LivesRemaining = 3;
player.WorldLocation = Vector2.Zero;
LevelManager.LoadLevel(0);
}
/// <summary>
/// UnloadContent will be called once per game and is the place to unload
/// all content.
/// </summary>
protected override void UnloadContent()
{
// TODO: Unload any non ContentManager content here
}
/// <summary>
/// Allows the game to run logic such as updating the world,
/// checking for collisions, gathering input, and playing audio.
/// </summary>
/// <param name="gameTime">Provides a snapshot of timing values.</param>
protected override void Update(GameTime gameTime)
{
// Allows the game to exit
if (GamePad.GetState(PlayerIndex.One).Buttons.Back ==
ButtonState.Pressed)
this.Exit();
KeyboardState keyState = Keyboard.GetState();
GamePadState gamepadState = GamePad.GetState(PlayerIndex.One);
float elapsed = (float)gameTime.ElapsedGameTime.TotalSeconds;
if (gameState == GameState.TitleScreen)
{
if (keyState.IsKeyDown(Keys.Space) ||
gamepadState.Buttons.A == ButtonState.Pressed)
{
StartNewGame();
gameState = GameState.Playing;
}
}
if (gameState == GameState.Playing)
{
player.Update(gameTime);
LevelManager.Update(gameTime);
if (player.Dead)
{
if (player.LivesRemaining > 0)
{
gameState = GameState.PlayerDead;
deathTimer = 0.0f;
}
else
{
gameState = GameState.GameOver;
deathTimer = 0.0f;
}
}
}
if (gameState == GameState.PlayerDead)
{
player.Update(gameTime);
LevelManager.Update(gameTime);
deathTimer += elapsed;
if (deathTimer > deathDelay)
{
player.WorldLocation = Vector2.Zero;
LevelManager.ReloadLevel();
player.Revive();
gameState = GameState.Playing;
}
}
if (gameState == GameState.GameOver)
{
deathTimer += elapsed;
if (deathTimer > deathDelay)
{
gameState = GameState.TitleScreen;
}
}
base.Update(gameTime);
}
/// <summary>
/// This is called when the game should draw itself.
/// </summary>
/// <param name="gameTime">Provides a snapshot of timing values.</param>
protected override void Draw(GameTime gameTime)
{
GraphicsDevice.Clear(Color.Black);
spriteBatch.Begin(
SpriteSortMode.BackToFront,
BlendState.AlphaBlend);
if (gameState == GameState.TitleScreen)
{
spriteBatch.Draw(titleScreen, Vector2.Zero, Color.White);
}
if ((gameState == GameState.Playing) ||
(gameState == GameState.PlayerDead) ||
(gameState == GameState.GameOver))
{
TileMap.Draw(spriteBatch);
player.Draw(spriteBatch);
LevelManager.Draw(spriteBatch);
spriteBatch.DrawString(
pericles8,
"Score: " + player.Score.ToString(),
scorePosition,
Color.White);
spriteBatch.DrawString(
pericles8,
"Lives Remaining: " + player.LivesRemaining.ToString(),
livesPosition,
Color.White);
}
if (gameState == GameState.PlayerDead)
{
}
if (gameState == GameState.GameOver)
{
spriteBatch.DrawString(
pericles8,
"G A M E O V E R !",
gameOverPosition,
Color.White);
}
spriteBatch.End();
base.Draw(gameTime);
}
}
}
ผมจะไม่อธิบายมากมายเพราะดูแล้วเข้าใจง่าย และคาดว่าท่านทั้งหลายก็คงจะมีความสามรถพอสมควร ในส่วนอื่นก็ๆให้ท่านจขกทโพสใว้หากต้องการ แล้วผมจะติดต่อไปหา หากเอาลิ้งค์ดาวน์โหลดมาลงกลัวจะผิดกติกาเว็บบอร์ด คั้งต่อไปผมจะเสนอเครื่องมือสร้างเกมส์ในแบบ
VB.NETบ้างเพราะเห็นหลายคนถกเถียงกันว่า VB.NET ไม่มีSDK เกี่ยวกับการสร้างเกมส์ แต่จริงๆแล้วมีหลายตัวด้วย
ในเมื่อท่านเคยสร้างเกมส์ด้วยunity คาดว่าท่านก็คงจะเข้าใจภาษาC#อยู่บ้างเพราะUnity ก็มีบางสคริปที่ใช้ภาษานี้เช่นกัน ฉะนั้นผมจะบอกความแตกต่างของการเขียนโค๊ดระหว่างXNA กับUnity xnaนั้นเป็นฟังชั่นที่ทำงานผ่าน.net ในเบื้องต้นสามารถสร้างเกมส์2Dได้ดีทีเดียวแต่หากต้องการพัฒนาต่อยอดในระบบ3Dนั้นต้องพัฒนาผ่าน OPenGL ซึ่งอาจทำงานด้วยwrapperต่างๆ เช่น ที่กำลังฮิตอยู่ตอนนี้คือ TheTao.OpenGL หรือ CSGL SharpGl พวกนี้เป็นต้นซึ่งท่านต้องติดตั้งเครื่องมือเหล่านี้ก่อนจึงสามรถที่จะสร้างเกมส์3Dได้
การเขียนโค๊ดของ Xna นั้นต้องประการ เนมเสปคทุกอย่างเหมือนการเขียนโปรแกรมทั่วๆไปและต้องประกาศคลาส ฟังชั่นตามปกติ
แต่สำหรับunity นั้นท่านคงจะทราบดี ว่าไม่ได้ประกาศเนมเสปคแต่อย่างใดคลาสก็ไม่ได้ประกาศเพราะโปรแกรมนั้นจัดการให้เราหมด จะประกาศแต่ฟังชั้นต่างๆเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
Code (C#)
using UnityEngine; 'เนมเสปคที่มีมาให้
using System.Collections;'เนมเสปคที่มีมาให้
public class NewBehaviourScript : MonoBehaviour 'คลาสที่มีมาให้{
// Use this for initialization
void Start () {
}
// Update is called once per frame
void Update () {
}
}
จากโค๊ดจะเห็นได้ว่าแค่ท่านมีประยุกต์ในการดัดแปลงเล็กน้อยท่านก็สามารถทำงานบนXnaได้แล้วโดยความแตกต่างคือในXNAไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือติดตั้งObject ต่างๆได้เหมือนUnityและจะสแดงผ่านเนมเสปค DRAWต่างๆเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อท่านนำภาพไปใส่ในโปรแกรม ท่านต้องคำนวนขนาดให้เหมาะสมผ่านรูปแบบของGDI และกะพื้นที่Coordinate ให้เเม่นยำด้วยหวังว่าคงเข้าใจ
และจะไม่ขออธิบายเรื่องโค๊ด เพราะยืดเยื่อและจะยืดยาวไปศึกษาเอาเองจะง่ายกว่า
Date :
2012-01-17 09:41:54
By :
คนสร้างเกมส์
ทุกวันนี้จ้างบริษัทด้านเกมส์ สร้างเกมส์หนึ่งเกมส์เช่น บริษัทZONE4หรือสามรถติดต่อที่ชมรมนักพัฒนาเกมส์ไทยผ่านกระทรวงไอซีที ราคาค่าจ้างก็แค่5-6พันบาท
ไม่เห็นมันจะต้องเป็นกังวลอะไรมากมาย
Date :
2012-01-17 10:00:06
By :
satan
โอ้ แม่เจ้า แต่มันเกมส์2dนี่ครับ ตอนนี้ผมใช้unraelทำแทนแล้วครับ แต่โค๊ดคุณสุดยอดมากเลย
Date :
2012-01-23 01:05:58
By :
worajito
Load balance : Server 05