Database msSQL msAccess อยากลองทำ การเบิกจ่ายแบบรวม Lot ครับ
ป่านนี้ จขกท. คงแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว
มาบอกเล่ากันบ้างนะครับ อยากรู้ว่า(ตอนนั้น) ทำยังไง
ประวัติการแก้ไข 2020-07-13 19:21:26
Date :
2020-07-13 19:20:59
By :
PhrayaDev
@พระยาเทพ
ไม่ง่ายเลยครับ ขึ้นอยู่กับหลายฯปัจจัย แต่ละที่/แต่ละธุรกิจ/คน คิดไม่เหมือนกัน
...
...
...
ปล. เท่าที่ผมเห็น มีแต่คุณ Chinahan คนเดียว ที่มีเหลี่ยมจัดและพอจะอธิบาย/แก้ไขปัญหา นี้ได้
Date :
2020-07-14 11:06:55
By :
หน้าฮี
เท่าที่รู้อย่างน้อยฯต้องมีตาราง เคลื่อนไหวสินค้า (Stock Card)
รับเข้า/จ่ายออก/โอนย้าย(ระดับคลังหรือระดับสถานที่เก็บ/ปรับปรุง (ต้นทุนเพิ่ม-ต้นทุนลด)/etc...
ตาราง ProductsTransaction
whs_code product_code product_type tran_type qty price from_whs to_whs
เก็บให้หมด มาจากใบสั่งซื้อ/ได้มา เลขที่เอกสาร/รายการที่
เก็บให้หมด มาจากใบสั่งขาย/เสียไป เลขที่เอกสาร/รายการที่
เหตุผลที่เก็บ เพื่อออกรายงานประหลาดฯ (ส่วนใหญ่เจ้าของบริษัท/ผู้มีอำนาจ มักต้องการดู)
...
...
ปล. Harddisk/ที่เก็บข้อมูล สมัยนี้ถอดออกปาหัวสุนัขร้องเอ๋งได้ ราคาก็ไม่ได้แพงเหมือนแต่ก่อน...
Date :
2020-07-14 11:19:28
By :
หน้าฮี
@Chaidhanan
กระผมไม่รู้จะใช้คำ...
ขอบคุณมาก ครับผม
ปล. อาจเป็นเพราะโชคชะตา
Date :
2020-07-15 22:38:41
By :
หน้าฮี
วิธีการคำนวณต้นทุน มีหลายวิธี เช่น
1. FIFO
2. LIFO (แทบไม่มีคนใช้แล้ว)
3. AVG (Weight Average)
4. AVG (Moveing Average)
วิธีที่ 3 Weight Average Method
สำหรับวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ต้นทุนต่อหน่วยก็คือต้นทุนสินค้าสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย หารด้วยจำนวนหน่วยที่มีไว้เพื่อขาย ซึ่งจะคำนวณเมื่อสิ้นงวด
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทมีสินค้าคงเหลือต้นงวด 200 ชิ้น มูลค่า 400 บาท ซึ่งต่อมาในงวดดังกล่าวบริษัทได้ซื้อสินค้าเพิ่ม 400 ชิ้น มูลค่า 1,700 บาท และได้รับออเดอร์ขายออกไปให้ลูกค้า 500 หน่วย ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะเหลือสินค้า อยู่ 100 หน่วย การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of goods sold) และมูลค่าของสินค้าคงเหลือจะทำเมื่อสิ้นงวดแล้ว แต่ก่อนที่จะคำนวณมูลค่าของจำนวนทั้งสองต้องนำมูลค่าของสินค้าทั้งหมดมาถัวเฉลี่ยก่อน
นั่นหมายความว่าต้องนำสินค้าคงเหลือต้นงวดถัวเฉลี่ยกับสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อน ดังนั้นสินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าต่อหน่วยเท่ากับ 3.5 บาท (400+1,700)/(200+400) แล้วจึงนำไปคำนวณสินค้าคงเหลือซึ่งมีอยู่ 100 ชิ้น จึงมีมูลค่า 350 บาท ส่วนต้นทุนสินค้าที่ขายออกไปจะมีมูลค่าเท่ากับ 1,750 บาท
ปล. นี่คืองานจริงเลยครับ กำลังทำใบเสนอราคา เขาเลือกวิธีที่ 3
Date :
2020-07-16 11:16:37
By :
หน้าฮี
จาก #NO6 อธิบายเพิ่มเติม
ความจริงแล้วสองวิธีนี้เป็นวิธีเดียวกัน แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบที่ต่างกัน เพราะแม้ทั้งสองวิธีนี้จะใช้การถัวเฉลี่ยเข้ามา แต่วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจะใช้กับระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic inventory system) ในขณะที่วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหวจะใช้กับระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual inventory system)
สรุปง่ายฯว่า Perpetual inventory system จะรับรู้ต้นทุนทันที
โจทย์ที่ท้าทายก็คือ การออกแบบฐานข้อมูล ให้รองรับทุกฯวิธีการ น้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เห็น
เก็บข้อมูลย้อนหลัง 9 ปี
ปีที่ 9 คือปีปัจจจุบัน ปีที่ 10 คือปีหน้า
แสบสันต์ไหม?
กรณีที่มี warehouse เดียว
Part_No zYear zMonth zQty zValue (ยอดสะสม commulative)
abc 2021 1
...
...
abc 2020 1 200 2000
abc 2020 2 0.00 0.00
...
...
...
Date :
2020-07-16 11:35:18
By :
หน้าฮี
zYear
10
9
8
7
...
...
1
เราคิดว่า ท่าน@Chaidhanan น่าจะเดาทางของเราออก
+55555
Date :
2020-07-16 11:48:02
By :
หน้าฮี
@TOR_CHEMISTRY
คุณคิดว่าวิธีการคำนวณต้นทุน วิธีที่ 1 และวิธีที่ 3 แตกต่างกันไหม?
Date :
2020-07-16 12:08:25
By :
หน้าฮี
จริงฯแล้วเจ้าของกระทู้เขาถามเรื่อง FIFO (อยากรับรู้ Lot)
Lot มันก็แค่ ฟิวด์อ้างอิง มีก็ได้ไม่มีก็ได้ เปรียบเปรยได้ว่า เหมือนลูกเศรษฐีใส่รองเท้าแตะข้างเดียว
แล้วไปเดินเล่นใน ทำเนียบรัฐบาล ประมาณนั้น
FIFO
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายและบันทึกได้ไม่ยุ่งยาก ซึ่งจากชื่อก็ได้บอกอยู่แล้วว่า "เข้าก่อน ออกก่อน" หรือหากจะขยายความก็คือ หากสินค้า A, B, C เข้ามาในโกดังตามลำดับ เมื่อขายออกไป สินค้า A ย่อมต้องออกก่อนสินค้า B และ C การบันทึกด้วยวิธีเข้าก่อน ออกก่อนสามารถใช้ได้กับทั้งระบบการบันทึกแบบสิ้นงวดและแบบต่อเนื่อง ซึ่งจะแตกต่างกันในรายละเอียดการบันทึก แต่มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ได้จะเท่ากัน
วิธีเข้าก่อน ออกก่อน มีข้อดีในการแสดงราคาสินค้าคงเหลือ เพราะเมื่อถึงสิ้นปี สินค้าคงเหลือนั้นจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าในตลาดมากที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท W ใช้ระบบสินค้าแบบต่อเนื่อง สินค้า A มีมูลค่า 110 บาท สินค้า B มีมูลค่า 120 บาท สินค้า C มีมูลค่า 100 บาท เมื่อได้รับสินค้า A, B และ C เข้ามาตามลำดับ มูลค่าของสินค้าคงเหลือในโกดังจะเท่ากับ 330 บาท (110+120+100) ต่อมาเมื่อมีรายการขายเกิดขึ้น ให้ถือว่าสินค้า A ออกไปชิ้นแรก เพราะฉะนั้นเมื่อมีการบันทึกบัญชีให้ถือว่ามีต้นทุนสินค้า 110 บาท และมูลค่าสินค้าคงเหลือเท่ากับ 220 บาท (120+100) และเมื่อได้รับออเดอร์จากลูกค้าอีกก็ให้ถือว่าขายสินค้า B ออกไป จะทำให้ต้นทุนสินค้ามีมูลค่า 230 บาท (120+110) และสินค้าคงเหลือมีมูลค่าทั้งสิ้น 100 บาท หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เหลือเพียงแค่สินค้า C เท่านั้นในโกดัง
วิธีนี้มักจะใช้กับสินค้าทั่วๆ ไปซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งมีข้อดีในการแสดงราคาสินค้าคงเหลือ เพราะเมื่อถึงสิ้นปี สินค้าคงเหลือนั้นจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าในตลาดมากที่สุด สามารถแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของบริษัทได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ประกอบกับเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก ทำให้วิธีเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม
ปล. ต้องเข้าใจ ทุกฯบริบท ... อันนี้เรายังไม่ได้พูดถึง บัญชีเลยนะ
Date :
2020-07-16 12:23:22
By :
หน้าฮี
Date :
2020-07-17 18:50:23
By :
PhrayaDev
1. จำได้ว่า การจดตั้งทะเบียนบริษัท ต้องมีการเลือกวิธีการคำนวณต้นทุน
1.1 FIFO
1.2 LIFO
1.3 AVG
1.4 etc... อทิเช่น ราคาตามท้องตลาด/ราคาตามที่ตรูอยากขาย/etc...
แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง ได้
2. เลือกวิธีการ บันทึกบัญชีสินค้า
2.1 Periodic
2.2 Perpettual
สองวิธีมันแตกต่างกันก็แค่กันบันทึกบัญชีอธิบายง่ายฯได้ว่า
Periodic จะไม่มีการบันทึก สินค้าคงเหลือ
...
...
...
ทุกฯวิธีมีวิธีการ/มีข้อดี-ข้อด้อย แตกต่างกันไป ตามคำหรือว่าประโยคที่ว่า
--- บริสุทธิ์บัญชี (มันก็แค่ตำราเรียน)
--- ตบแต่งบัญชี (ร้อยเอาขี้หมากองเดียว ทุกฯแห่งหนในเมืองไทย ใช้วิธีนี้)
...
Date :
2020-07-29 14:22:09
By :
หน้าฮี
@TOR_CHEMISTRY ตามความเข้าใจของคุณ/ตามความเข้าใจของผมในเรื่อง LOT
ในโรงงาน/คนที่เกี่ยวข้อง บางครั้งก็เรียกว่า LOT/Batch_No เลขที่ห่าเหวหะมอยแตด อะไรก็ว่ากันไป
รับรู้ LOT ได้ ตอนไหน? ยกตัวอย่างซ่องทางหนึ่งนั่นคือ รับสินค้าจากการสั่งซื้อ
ตอนรับสินค้า ป้อน LOT ก็ได้/ไม่ป้อนก็ได้ ถ้าไม่ป้อน ก็รับรู้ LOT ได้นั่นคือ
เลขที่เอกสารใบสั่งซื้อ + รายการที่
โลกแห่งความเป็นจริง มันไม่ได้มีแค่ ซื้อ/ขาย
คิดง่ายฯ ซื้อคือรับ ขายคือจ่าย
แต่มันมี
ส่งคืนสินค้า/รับคืนสินค้า
ปรับปรุงต้นทุนสินค้า (เพิ่ม/ลบ) ก็ว่ากันไป
ไหนจะมีการโอนย้ายระหว่างคลังอีก
และอีกจิปาถะ
...
...
...
Date :
2020-07-29 14:40:11
By :
หน้าฮี
ลองเอาไปคิดดูเล่นฯนะ ไม่จำกัดหน่วยนับ เช่น
ซื้อมาเป็นด้าม แต่ขาย/เบิกจ่าย เป็น โหล
ซื้อมาเป็นโหล แต่ขาย/เบิกจ่าย เป็นแท่ง
CGS (Cost Of Good Sold/ต้นทุนขาย)
วันที่ 01/01/xxxx ซื้อปากกามา 5 โหล ราคาโหลละ 30 บาท ต้นทุนด้ามละ ?
วันที่ 01/01/xxxx ซื้อปากกามา 1 ด้าม ราคาด้ามละ 3 บาท ต้นทุนด้ามละ ?
วันที่ 01/01/xxxx ขายสินค้าไป 2 ด้าม ราคาด้ามละ ?
ด้วยสมมุติฐานว่า ซื้อจำนวนมากฯ ราคาต่อหน่วยจะลดลง + ต้นทุนแปรผันอีกมากมาย
Date :
2020-07-29 14:52:27
By :
หน้าฮี
@TOR_CHEMISTRY คุณมีคำถามและข้อสงสัย ผมก็มั่วไปมั่วมา
คุณ Chinaha ก็บอกว่าไม่ยาก ก็ไล่ตัดตาม Lot จนกว่าจะหมด
ในโลกความเป็นจริง คุณต้องเข้าใจก่อนว่า การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
คุณต้องเลือกนิยม เท่าที่ผมเห็นนะ มี 2 วิธี
1. Perpetual
2. Periodicc
ข้อแตกต่างกันก็คือ Perpetual มีการบันทึกสินค้าคงเหลือ แต่ Periodic ไม่มีการบันทึกสินค้าคงเหลือ
ที่เหลือก็ไปอ่าน หลักการบัญชี/บัญชีต้นทุน
วิธีการคำนวณต้นทุนมันจะตามมา
--> Perpetual --> FIFO
--> Perpetual --> Agv (ถัวเฉลี่ย)
--> Perpetual --> Agv (ถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว)
--> Perpetual --> LIFO(ถัวเฉลี่ย)
--> Perpetual --> LIFO(ถัวเฉลี่ยเคลื่อนไหว)
...
...
...
และมีบางกรณีที่ต้องเอาวันหมดอายุ เช่น โรงพยาบาล/ยา เป็นต้น วันไกล้หมดอายุ ต้องรีบจ่ายก่อน/เอาไปทิ้ง
และมีบางกรณีที่นอกเหนือจากนี้ เช่น สินค้าไม่มีการเข้าคลัง (ด่วนฯฯฯ/ลืม/หลงลืม/ตกแต่งตัวเลข) และอีกเยอะเลย
ผมไล่วิธีการคิดของคนบางคน สมัยปี พ.ศ 2540 ต้นฯ ไม่ถึง 47 และเงินเดือนคนฯนั้น ตอนนั้นประมาณ สองแสนบาท/เดือน
(เขาเล่าให้ผมฟัง) เขาโยน exe มาให้ผม ถ้าแน่จริงก็แกะเอา
ไอ้เราก็หนึ่งในตองอู ไม่ถามให้เสียหน้าหรอก
...
...
...
Date :
2020-07-30 20:14:43
By :
หน้าฮี
ข้อสงสัยที่ผมยังหาคำตอบไม่ได้ (ยังไม่มีเวลาหา)
ยอดยกมา/ยอดยกไป ในแต่ละวัน/เดือน/ปี
สมมุติมียอดยกมา ณ. เดือน มิถุนายน 2563 สินค้าบีที่หาร จำนวน 10 ชิ้น มูลค่ารวม 90 บาท
จะรู้ได้อย่างไรว่า ในสิบชิ้น มันมาจาก LOT ไหนบ้าง
Date :
2020-07-30 23:00:00
By :
หน้าฮี
มีข้อสงสัยอีก สมมุติ ใบส่งสินค้า/ใบรับสินค้า
มีของที่ต้องรับสองรายการ เช่น สินค้า A และ สินค้า B จำนวนราคาเท่าไหร่ก็ว่ากันไป
ภาษีก็คงไมเกี่ยวข้อง (ขอคืนได้)
แต่แม่ง มีส่วนลดรวม (คล้ายฯ ส่วนลดท้ายบิล)
อันนี้ก็สงสัยอยู่ว่า มันเฉลี่ยส่วนลด ไปยังสินค้า A/B อย่างไร?
Date :
2020-07-30 23:09:34
By :
หน้าฮี
Load balance : Server 02