Metadata Elements หรือ Meta Tag คือ ส่วนของซอร์สโค๊ดที่อยู่ใน Head (ส่วนหัว) ของเอกสาร HTML โดยปกติเมื่อเราเปิดหน้าเว็บไซต์หนึ่ง ๆ ขึ้นมา ส่วนของ Head จะถูกประมวลผลก่อน ดังนั้น Meta Tag จึงเป็นส่วนที่บอกคุณลักษณะของเว็บนั้น ๆ ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร แสดงผลด้วยภาษาอะไร ใครเป็นผู้เขียน มีคำค้นที่ใช้ว่าอะไร เป็นต้น
ซึ่ง Robot ของ Search Engine จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการประมวลผลจัดเก็บเว็บไซต์ เรามาทำความรู้จักกับ Meta Element แต่ละ Tags กันดีกว่าครับ ผมจะใช้ความรู้สึกของผมในการวัดว่า Tags ใด มีผลกับการทำ SEO มากหรือน้อยในวงเล็บหลังหัวข้อนะครับ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเชื่อผมก็ได้)
Title Element - Page Titles (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับบอกว่า หน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่มีหัวข้อว่าอะไร เช่น
<title>SEO - Meta Tags</title>
Meta Description Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)
ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดสั้น ๆ ของหน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่ ไม่ควรเขียนให้สั้น หรือ ยาวจนเกินไป ข้อความที่เขียนควรสัมพันธ์กับเนื้อหาของหน้านั้น ๆ ด้วยนะครับ เช่น
<meta name=”description” content=”Thailand Search Engine Optimization Blog” />
Meta Keywords Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)
ใช้สำหรับระบุคำค้น ที่สามารถเข้ากันได้กับเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น ๆ สามารถใส่ได้หลายคำ และแบ่งคำโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) เช่น
<meta name=”keywords” content=”seo,seo thai,seo blog,seo tools” />
Meta Language Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับระบุว่า หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ มีเนื้อหาเป็นภาษาอะไร เช่น
<meta http-equiv=”content-language” content=”th” />
Meta Content Type Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับระบุว่า หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ สามารถแสดงผลได้ถูกต้องด้วยชุดตัวอักษรแบบใด และเป็นเอกสารประเภทอะไร เช่น
<meta http-equiv=”content-type” content=”text/html; charset=UTF-8″ />
Meta Revisit-After Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)
ใช้สำหรับบอกกับ Robot ของ Search Engine ว่า ให้มาเก็บข้อมูลอีกครั้งในอีกกี่วันข้างหน้า เช่น
<meta name=”revisit-after” content=”7 days” />
Meta Robots Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับบอก Robot ของ Search Engine ว่าให้ Robot เก็บข้อมูลในหน้านั้นไป Indexs หรือไม่ หรือ ให้ Robot เดินทางไปตาม Links ที่ปรากฎในหน้านั้น ๆ หรือไม่ เช่น
<meta name=”robots” content=”index, follow” />
นอกจากข้างต้นแล้ว ยังมี Meta Element อีกหลาย Tags ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึงครับ เพราะไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่อง SEO ขอให้ทุกท่านสนุกกับการปรับแต่ง Header ของเอกสาร HTML เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ SEO นะครับ