|
|
|
คุณแมวของคุ้กกี้ค่ะ ช่วยยกตัวอย่างโค้ดให้ดูหน่อยน่ะค่ะ |
|
|
|
|
|
|
|
เอิ่ม ถามเพราะผมไปเม้นท์กระทู้ Laravel หรือเปล่าครับเนี่ย คือต้องออกตัวก่อนว่า
ผมไม่ได้หมายความว่า Laravel performance ไม่ดีหรือช้าอะไรนะครับ มันเร็วและดีเมื่อเทียบกับ framework ตัวอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไป
แต่ที่ผมไม่ใช้เพราะ performance ของมันถ้าเทียบกับการเขียนแบบปกติโดยไม่ใช้ framework มันช้ากว่าอยู่แล้ว
เหตุผลเพราะหากเราเขียนเฉพาะที่จำเป็น เจาะจงลงไปได้ว่าจะทำอะไร
ต่างกับ framework ที่เขาจะเขียนครอบคลุม ให้สิ่งหนึ่งทำได้หลายๆ อย่าง มีโค้ดมากกว่า มีการตรวจสอบมากกว่า มีการเรียกใช้ไฟล์ภายนอกมากกว่า
แม้จะบอกว่าเรียกใช้ไฟล์เฉพาะเวลาที่ต้องเท่านั้น (autoload) แต่ก็ต้องมีการ require หรือ include ซึ่งมันคือการอ่านไฟล์ เข้าถึงดิสก์ของระบบ
ใน framework ส่วนใหญ่ แม้แต่คลาสเล็กๆ หรือ interface ก็แยกเป็นไฟล์ 1 ไฟล์ ซึ่งการอ่านไฟล์พวกนี้ถือเป็น overhead อย่างหนึ่งครับ
ซึ่งอย่างใน Laravel เวอร์ชั่น 4 นี่ ก็เหมือนจะมีไฟล์ class และ interface รวมถึงอื่นๆ มากมายก่ายกอง (ประมาณ 4000 ไฟล์)
แต่เราสามารถเพิ่ม performance ของ framework ได้โดยการนำไฟล์ที่เราต้องใช้แน่ๆ มารวมกันเป็นไฟล์เดียว แล้วเรียกใช้ตั้งแต่ต้นโปรแกรม
เพราะ autoload จะไม่ทำงานหากมีคลาสหรือ interface ที่ต้องการประกาศไว้อยู่แล้ว
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:00:03 |
By :
cookiephp |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนถ้าถามว่าโค้ดที่เน้น performance มันเป็นยังไง มันมีหลายแบบครับ
จะลองยกตัวอย่างจากโค้ดที่เห็นๆ กันในบอร์ดนะครับ
1. ไม่ควรประกาศตัวแปรโดยไม่จำเป็น หากใช้เพียงครั้งเดียว เพราะจะทำให้โค้ดซับซ้อนขึ้น และเปลืองหน่วยความจำมากขึ้น
Code (PHP)
<?php
$a = $_POST['a'];
$b = $_POST['b'];
$c = $_POST['c'];
$d = $_POST['d'];
$e = $_POST['e'];
$sql = "INSERT INTO `table` VALUES ('$a', '$b', '$c', '$d', '$e')";
$result = mysql_query($sql);
if (!$result) {
exit(mysql_error());
}
อย่างข้างบนเราเห็นกันบ่อยมาก คือมีการประกาศตัวแปรเพียงเพื่อจะเอาไปใส่ใน query และ query ก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่ง ($sql)
ถ้าเราเน้น performance จะเขียนได้แบบนี้ (ตัวอย่างไม่ได้เน้นความปลอดภัยนะครับ)
Code (PHP)
if (!mysql_query("INSERT INTO `table` VALUES ('$_POST[a]', '$_POST', '$_POST[c]', '$_POST[d]', '$_POST[e]')")) {
exit(mysql_error());
}
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:08:18 |
By :
cookiephp |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2. อย่าใช้ count() ในลูป
Code (PHP)
$arr = array(1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10);
for($i = 0; $i < count($arr); ++$i) {
echo $arr[$i];
}
ข้างบนจะมีการเรียก count() ในทุกรอบ ซึ่งจะลด performance
เปลี่ยนเป็นกำหนดค่าลงตัวแปรก่อน
$arr = array(1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10);
$n = count($arr);
for ($i = 0; $i < $n; ++$i) {
echo $arr[$i];
}
3. pre increment operator เร็วกว่า post increment operator
Code (PHP)
$i = 0;
$i++; // ช้ากว่าเพราะแปลงเป็น op code ได้ 4 คำสั่ง
++$i; // เร็วกว่า เพราะมี op code แค่ 3
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:14:01 |
By :
cookiephp |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4. ใช้ ' สำหรับสตริงที่ไม่มีการแทนค่าตัวแปร หรือสัญลักษณ์พิเศษ
ตรงจุดนี้จะได้ performance ในช่วงที่ PHP กำลัง parse ไฟล์ (ไม่ใช่ performance ในระหว่างโค้ด php ทำงาน)
เพราะ ' จะไม่มีการแทนค่าตัวแปร หรือแปลง \? ให้เป็นสัญลักษณ์พิเศษ การ parse สตริงที่ครอบด้วย ' จะเร็วกว่ามาก
Code (PHP)
$a = 'Hello'; // parse เร็วกว่า
$b = "Hello";
5. อย่าใช้ . เพื่อเชื่อมต่อสตริงโดยไม่จำเป็น
การใช้ . เพื่อเชื่อมต่อสตริง นอกจากจะทำงานช้า ยังทำให้โค้ดอ่านยาก และดูสับสน
if($_GET["Action"] == "Save")
{
//*** Insert Reply ***//
$strSQL = "INSERT INTO reply ";
$strSQL .="(QuestionID,CreateDate,Details,Name) ";
$strSQL .="VALUES ";
$strSQL .="('".$_GET["QuestionID"]."','".date("Y-m-d H:i:s")."','".$_POST["txtDetails"]."','".$_POST["txtName"]."') ";
$objQuery = mysql_query($strSQL);
//*** Update Reply ***//
$strSQL = "UPDATE webboard ";
$strSQL .="SET Reply = Reply + 1 WHERE QuestionID = '".$_GET["QuestionID"]."' ";
$objQuery = mysql_query($strSQL);
}
ลองเปลี่ยนเป็นแบบนี้
if($_GET['Action'] == 'Save')
{
//*** Insert Reply ***//
$date = date('Y-m-d H:i:s');
$objQuery = mysql_query(
"
INSERT INTO reply
(QuestionID,CreateDate,Details,Name)
VALUES
($_GET[QuestionID], $date, $_POST[txtDetails], $_POST[txtName])
"
);
//*** Update Reply ***//
$objQuery = mysql_query("UPDATE webboard SET Reply = Reply + 1 WHERE QuestionID = '$_GET[QuestionID]' ");
}
(โค้ดตัวอย่างจาก https://www.thaicreate.com/free-web-script/php-create-webboard-mysql.html)
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:25:12 |
By :
cookiephp |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ยังมีอีกเยอะนะครับ ซึ่งคุณสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในเว็บนอก ลอง search php performance tip ครับ
แต่ก็มีหลายเรื่องที่ไม่จริงนะครับ อันนี้ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่าน ที่สำคัญ ต้องลองทดสอบด้วยตัวเองครับ
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:29:36 |
By :
cookiephp |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ ได้ความรู้ดีๆ มาตุนในคลังเพิ่มอีกหลายเรื่องเลยค่ะ
แต่ขอถามอีกสักเรื่องน่ะค่ะ
ขอสมมุติโค้ดน่ะค่ะ
$n = count($_GET[QuestionID]);
for($i=0; $i<$n; ++$i){
echo "$_GET[QuestionID][$i], $date, $_POST[txtDetails][$i], $_POST[txtName][$i]";
}
กับ
Code (PHP)
$n = count($_GET[QuestionID]);
for($i=0; $i<$n; ++$i){
echo "{$_GET["QuestionID"][$i]}, $date, {$_POST["txtDetails"][$i]}, {$_POST["txtName"][$i]}";
}
การเขียนทั้งสองแบบจะได้ผลลัพธ์เรื่อง performance ต่างกันมั๊ยค่ะ
และการใช้ for ธรรมดากับ foreach แบบไหน performance ดีกว่ากันค่ะ
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:44:16 |
By :
survivor |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ที่ถามมานั้น ต้องเขียนแบบสองเท่านั้นครับ เพราะ $_GET['QuestionID'], $_POST['txtDetails'], $_POST['txtName'], เป็น array หลายมิติ การแทนที่ในสตริงต้องใช้ { } ครอบเสมอครับ
ลองอ่านบทความ "ตัวแปรในสตริง" ของผมดูได้ครับ
ส่วน for กับ foreach ถ้าเป็นเรื่องการอ่านค่าใน array
foreach เร็วกว่าครับ (ประมาณ 30%)
ลองทดสอบดูได้ครับ
<?php
$arr = range(1, 1000);
$t = microtime(true);
for($i = 0; $i < 100000; ++$i) {
$n = count($arr);
for ($j = 0; $j < $n; ++$j) {
$arr[$j];
}
}
echo 'for: ' . (microtime(true) - $t) . "s\n";
$t = microtime(true);
for($i = 0; $i < 100000; ++$i) {
foreach ($arr as $value) {
$value;
}
}
echo 'foreach: ' . (microtime(true) - $t) . "s\n";
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-11 22:56:00 |
By :
cookiephp |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Date :
2013-08-12 21:25:31 |
By :
compiak |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Load balance : Server 03
|