รายละเอียดของการตอบ ::
นี่แหละปัญหาของสถานการณ์ของมหาวิทยาลัยไทยในปัจจุบัน
ผมเคยคุมสอบเด็กปีสองอยู่ครั้งนึง รู้สึกจะเป็นมิดเทอม ผมก็นั่งเปิดข้อสอบดูไปด้วย
สำหรับผมรู้สึกว่าข้อสอบมันจะอ่อนไปนิด ดูเหมือนจะง่ายไป มันจะไปวัดความรู้เด็กได้อย่างไร(คิดในใจ)
มันมีแต่แบบตัวเลือก ไม่มีโจทย์ประเภทขีดๆเขียนๆเลย ข้อสำคัญมีแต่ทฤษฏี แค่อ่านจำมาก็ทำข้อสอบได้แล้ว
ผมเลยเอ่ยปากถามไปว่าทำข้อสอบได้มั๊ย พร้อมกับพูดต่อโดยไม่รอฟังคำตอบของเด็ก (เพราะไม่อยากให้เด็กมันฉวยโอกาส
ถามคำตอบกันในห้อง) ว่าไอ่ที่ทำกันอยู่เนี่ย มันยังไม่ได้สิบเปอร์เซ็นต์ที่พวกคุณจะเจอตอนปีสามปีสี่เลย ยิ่งโปรเจคจบด้วยแล้ว
คุณไม่มีทางลอดแน่ๆถ้าสอบคราวนี้ต่ำกว่า 90 คะแนน(เต็ม120) เพราะที่เรียนอยู่ปีสองน่ะมันยังชีลๆ มันจะเข้มข้นตอนปีสามปีสี่
รุ่นพี่พวกคุณที่เรียนมาจบแต่ละปีไม่เกินยี่สิบคนที่จบตามเกณฑ์ นอกนั้นก็ซิ่วไปสัก 70% ผมก็ขู่ตามความจริงที่ผมเห็นมาตลอด
และรู้สึกว่ายิ่งนานวันเด็กสมัยใหม่ learning curve ยิ่งต่ำลงกว่ามาก่อนมาก
แต่บางครั้งผมเองก็ไม่โทษเด็กฝ่ายเดียว แต่ต้องโทษอาจารย์ผู้สอนด้วยที่ไปยึดติดกับมาตรฐานการสอนของเด็กรุ่นก่อนๆ
เด็กรุ่นก่อนๆสักสิบปีขึ้นไป มันรู้จักขวนขวาย กระตือรือล้นใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมเสมอ อาจเป็นเพราะรักในสิ่งที่เรียน
แต่เด็กสมัยนี้คิดเพียงแต่ว่า งานมันสบายอาจได้สนุกหรือง่ายเหมือนเล่นเกมส์ออนไลน์ ชอบหรือเสพติดเกมส์ก็ไม่ได้แปลว่างานด้าน
คอมพิวเตอร์มันจะสนุกแบบนั้น
ทีนี้กลับมาเรื่องแนวการสอนของอาจารย์แก่ๆ สอนในห้องไปกี่คำก็บอกให้เด็กไปหาอ่านเอง ยกตัวอย่างไม่กี่ข้อก็ให้โจทย์เด็กซะเยอะ
แต่มักไม่บ่มเพาะแนวความคิดที่จะทำให้เด็กมันสามารถคิดเองได้ กอปรกับอาจารย์ผู้สอนมักขี้เกียจเพราะชั่วโมงบินมันเยอะแล้ว
หรืออาจบิดบังความสามารถที่แท้จริงอยู่ ..... หุๆๆๆ นั่นคือ (สำหรับอาจารย์รุ่นใหม่)ตัวกูเองก็ไม่เก่งเพราะกูก็เป็นรุ่นพี่พวกได้ไม่ถึง 5ปี จบ ป ตรีก็แทบกระอัก
ส่วน ป โท ก็แนวเอาใจเลี้ยงดูปูเสื่ออาจารย์ที่ปรึกษา เลียแข้งขาซะมันแผลบ ก็เลยสอนพวกเอ็งแบบว่า อมภูมิความรู้ (จริงๆแล้วอาจไม่มีภูมิ... อิอิ) ทำให้ดูเหมือนว่าข้านี้เซียนเหยียบเมฆา เห็นแก่อนาคตของชาติจึงอยากให้พวกเอ็งไปค้นคว้าหาคำตอบเอาเอง(เผื่อจะเกิดการเรียนรู้) ........ แต่ลืมไปว่าความสามารถในการเรียนรู้ของพวกเอ็งมันติดลบ ............