Register Register Member Login Member Login Member Login Forgot Password ??
PHP , ASP , ASP.NET, VB.NET, C#, Java , jQuery , Android , iOS , Windows Phone



Clound SSD Virtual Server

Ajax Introduction

เอแจ็กซ์กับวิกิพีเดีย
เอแจ็กซ์ (AJAX - Asynchronous JavaScript And XML) เป็นกลุ่มของเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อ ให้ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลในฉากหลัง ทำให้ทั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มการตอบสนอง ความรวดเร็ว และการใช้งานโดยรวม

เอแจ็กซ์นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นเทคนิคที่ได้ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างที่มีอยู่แล้วรวมกันดังต่อไปนี้:

* XHTML (หรือ HTML) และ CSS ใช้ในการแสดงผลลัพธ์และรูปแบบข้อมูล
* ECMAScript เช่นจาวาสคริปต์ ในการเข้าถึง Document Object Model (DOM) เพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือโต้ตอบกับผู้ใช้
* XMLHttpRequest ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล asynchronously กับเว็บเซิร์ฟเวอร์
* XML ใช้เป็นรูปแบบข้อมูลในการแลกเปลี่ยน ซึ่งรูปแบบอื่นก็สามารถใช้ได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็น HTML, JSON, EBML, หรือ เพลนเท็กซ์

ประวัติ
Jeese Jams Garett นั้นเป็นผู้ที่ได้บัญญัติคำว่า เอแจ็กซ์ ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2548 ซึ่งนึกขึ้นได้ระหว่างที่เขากำลังอาบน้ำ เพื่อหาคำสั้นๆ สำหรับอธิบายให้ลูกค้าของเขาทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่ต้องการจะนำเสนอ

เอแจ็กซ์โดยตัวมันเองแล้วไม่ได้เป็นเทคโนโลยีหรือภาษาโปรแกรมชนิดใหม่ แต่เป็นการรวมกลุ่มของเทคโนโลยีที่มีใชัอยู่แล้วดังที่กล่าวข้างต้น โดยวิวัฒนาการของเอแจ็กซ์เริ่มต้นเมื่อปีค.ศ. 2002 ไมโครซอฟท์ได้ทำการคิดค้น XMLHttpRequest ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกในการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพจ เพื่อใช้ติดต่อกับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งในขณะนั้นมีแต่เพียง อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ เท่านั้นที่มีความสามารถนี้ ต่อมาเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆ เช่นจาก มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ได้นำแนวคิดของ XMLHttpRequest ไปใส่ในเบราว์เซอร์ของตนด้วย จึงเริ่มทำให้มีการใช้อย่างกว้างขวางขึ้น จนปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานที่ทุกเว็บเบราว์เซอร์ต้องมี

ในตอนแรกนั้นไมโครซอฟท์เป็นผู้ที่ได้นำ XMLHttpRequest โดยใช้ใน Outlook Web Access ที่มาพร้อมกับ Microsoft Exchange Server 2000 ต่อมาเว็บไซต์อย่างกูเกิล ได้เปิดบริการใหม่ชื่อจีเมล ซึ่งใช้ XMLHttpRequest เป็นหัวใจหลักในการดึงข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ จึงทำให้แนวคิดและเทคนิคการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย เอแจ็กซ์ เริ่มเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางขึ้น จนปัจจุบันถือว่าเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของแนวคิดเรื่อง Web 2.0


Ajax

หลักการทำงาน
วิธีการทำงานของเว็บแอปพลิเคชันแบบดังเดิมนั้น โดยปกติแล้วเมื่อผู้ใช้ทำการร้องขอข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ ตัวเว็บเบราว์เซอร์จะทำการส่งข้อมูลการร้องขอโดยใช้โพรโทคอล HTTP เพื่อติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และที่เว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำการประมวลผลจากการร้องขอที่ได้รับ และส่งผลลัพธ์เป็นหน้า HTML กลับไปให้ผู้ใช้ วิธีการข้างต้นเป็นวิธีการแบบการร้องขอและการตอบรับ (Request and Response) ซึ่งผู้ใช้จะต้องรอระหว่างที่เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลอยู่ ซึ่งเป็นหลักการทำงานแบบ Synchronous แต่การทำงานของเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้เทคนิคเอแจ็กซ์จะเป็นการทำงานแบบ Asynchronous หรือการติดต่อสื่อสารแบบไม่ต่อเนื่อง โดยเซิร์ฟเวอร์จะทำการส่งผลลัพธ์เป็นเว็บเพจให้ผู้ใช้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ ประมวลผลเสร็จก่อน หลังจากนั้นเว็บเพจที่ผู้ใช้ได้รับจะทำการดึงข้อมูลในส่วนต่างๆทีหลัง หรือจะดึงข้อมูลก็ต่อเมื่อผู้ใช้ต้องการเท่านั้น

Ajax


Ajax

ข้อดี
สามารถประมวลผลได้เร็ว เรียกดูข้อมูลได้ทันที โดยไม่ต้องรีเฟรชหน้านั้นๆ

ขนาดการรับส่งข้อมูล
เทคนิคเอแจ็กซ์นั้นสามารถสร้าง HTML ได้ในเครื่องผู้ใช้ ทำให้ขนาดข้อมูลนั้นเล็กลงในครั้งต่อๆไป เพราะสามารถส่งเพียงข้อมูล และคำสั่งจาวาสคริปต์ลงมาเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะต้องส่งข้อมูลใหม่หมดมาทั้งหน้า. ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของเว็บแอปพลิเคชันนั้นๆ

ความรวดเร็วในการตอบสนอง
เนื่องจากการใช้เทคนิค เอแจ็กซ์นั้นทำให้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่นการแก้ไข เพิ่มเติม ลบทิ้งรายการข้อมูล หรือการดึงข้อมูลที่ต้องการจะค้นหานั้น สามารถทำได้ในฉากหลัง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกการตอบสนองนั้น คล้ายคลึงกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มากกว่าเว็บปกติที่ต้องรอโหลดใหม่ทั้งหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปัญหาที่พบ

ปัญหาการใช้งานเกี่ยวกับปุ่ม "ย้อนกลับ"
เนื่องจากว่าเทคนิค เอแจ็กซ์นั้นทำงานในฉากหลัง และไม่ได้เรียกหน้าใหม่ ทำให้เวลาใช้ปุ่ม "ย้อนกลับ" (back) ในเว็บเบราว์เซอร์ อาจจะไม่ได้หน้าที่ควรจะเป็น ผู้พัฒนานั้น ได้คิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหานี้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน หนึ่งในวิธีที่ใช้แก้ไขปัญหานี้อย่างแพร่หลายคือการใส่ IFRAME ที่มองไม่เห็นเพื่อสั่งให้เว็บเบราว์เซอร์เปลี่ยนแปลงรายการหน้าของปุ่มก่อน หน้านี้

ปัญหาในการคั่นหน้า
เนื่องจากว่าข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องโหลดหน้าใหม่นั้น ทำให้ยากต่อการที่จะคั่นหน้าใน สถานะปัจจุบันที่ต้องการ เนื่องจากถือว่าเป็นหน้าเดียวกัน. อย่างไรก็ตาม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้คิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหานี้ โดยการใส่ ชิ้นส่วนตัวแปร (fragment identifier) ใส่ในส่วนของURL ตามหลังเครื่องหมาย '#' เพื่อใช้ในการระบุสถานะของเว็บแอปพลิเคชัน สาเหตุที่ใช้วิธีนี้ได้นั้นเนื่องจากว่าจาวาสคริปต์นั้นสามารถเปลี่ยนชิ้น ส่วนตัวแปรนี้ได้โดยไม่ต้องโหลดหน้าใหม่. อย่างไรก็ตามวิธีแก้ไขปัญหานี้ไม่ใช่วิธีที่สมบูรณ์แบบ








เวลาที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล
เนื่องจากว่าผู้ใช้อาจจะรู้สึกถึงความล่าช้าได้ ซึ่งในหลายกรณีผู้ใช้อาจจะไม่เข้าใจถึงสาเหตุ. ความล่าช้าในเทคนิค เอแจ็กซ์นั้นจะเห็นได้ชัดกว่าการโหลดหน้าใหม่ทั้งหน้า เนื่องจากเวลาโหลดทั้งหน้าใหม่นั้น สายตาจะได้รับข้อมูลการปรับเปลี่ยน ทำให้ผู้ใช้รับทราบว่าหน้ากำลังโหลดอยู่ ประเด็นนี้จึงเป็นปัจจัยที่ผู้พัฒนาควรที่จะคำนึงถึงระหว่างการออกแบบเว็บแอ ปพลิเคชัน โดยผู้พัฒนาส่วนใหญ่นั้น ได้แก้ไขปัญหานี้โดยใช้รูปภาพแสดงว่าข้อมูลส่วนดังกล่าวกำลังโหลดอยู่ในฉาก หลัง เพื่อลดความรู้สึกดังกล่าว

ปัญหาความเข้ากันได้กับเสิร์ชเอนจิน
ผู้พัฒนายังต้องคำนึงการออกแบบ ที่จะให้เสิร์ชเอนจินต่างๆ นั้นสามารถอ่านและจัดทำดัชนีได้. ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้เทคนิค เอแจ็กซ์เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับเว็บที่ดึงข้อมูลหน้าใหม่ทั้งหมดจากการตอบรับ เช่น กดปุ่ม เป็นต้น

ความน่าเชื่อถือของจาวาสคริปต์
เนื่องจากว่าเอแจ็กซ์ใช้จาวาสคริปต์ ซึ่งจาวาสคริปต์นั้นอาจทำงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเว็บเบราว์เซอร์หรือรุ่น ของเว็บเบราว์เซอร์นั้นๆ และหากต้องการให้เข้ากันได้ในหลายเว็บเบราว์เซอร์ อาจต้องการการทดสอบและตรวจสอบความเข้ากันได้บนเบราว์เซอร์ต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจจำเป็นที่จะต้องเขียนโค้ดแยกเช่นบางส่วนสำหรับไออี และอีกส่วนสำหรับไฟร์ฟอกซ์เป็นต้น

เอแจ็กซ์เฟรมเวิร์ก
เพื่อให้ผู้พัฒนาได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้เทคนิคเอแจ็กซ์ได้ง่ายขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเอแจ็กซ์เฟรมเวิร์ก บางโครงสร้างนั้นอาจจะซ้ำซ้อนและมีความสามารถพร้อมเพียงในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้เทคนิคเอแจ็กซ์


Reference : http://th.wikipedia.org/wiki/เอแจ็กซ์


   
Share


ช่วยกันสนับสนุนรักษาเว็บไซต์ความรู้แห่งนี้ไว้ด้วยการสนับสนุน Source Code 2.0 ของทีมงานไทยครีเอท


ลองใช้ค้นหาข้อมูล


   


Bookmark.   
       
  By : ThaiCreate.Com Team (บทความเป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไทยครีเอทห้ามนำเผยแพร่ ณ เว็บไซต์อื่น ๆ)
  Score Rating :  
  Create/Update Date : 2009-01-24 07:52:09 / 2017-03-24 22:25:40
  Download : No files
 Sponsored Links / Related

 
Ajax innerHTML & InnerText
Rating :

 
Ajax JavaScript & Event
Rating :

 
Ajax visibility hidden & visible
Rating :

 
Ajax Display Element
Rating :

 
Ajax Visibility & Display
Rating :

 
Ajax Disabled Element
Rating :

 
Ajax CreateElement
Rating :

 
Ajax setTimeOut
Rating :

 
Ajax responseText
Rating :

 
Ajax readyState
Rating :

 
Ajax Send Data Method POST (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Send Data Method GET (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Register Form (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Login (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Dropdownlist and Listmenu (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Upload file (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Load Content (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Load Web Page (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Loading Progress Icon
Rating :

 
Ajax List Record (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax List Record Paging/Pagination (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Add/Insert Record (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Edit/Update Record (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Delete Record (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Delete Record Part 2 (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Search Record (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Search Record Paging/Pagination (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Chat Room (PHP+Text & ASP+Text)
Rating :

 
Ajax Shopping Cart (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Contact Form (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Image Gallery (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Open Text file (PHP & ASP)
Rating :

 
Ajax Autocomplete
Rating :

 
Ajax Check Username (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Auto Fill Textbox (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax Realtime (PHP+MySQL & ASP+Access)
Rating :

 
Ajax jQuery
Rating :


ThaiCreate.Com Forum


Comunity Forum Free Web Script
Jobs Freelance Free Uploads
Free Web Hosting Free Tools

สอน PHP ผ่าน Youtube ฟรี
สอน Android การเขียนโปรแกรม Android
สอน Windows Phone การเขียนโปรแกรม Windows Phone 7 และ 8
สอน iOS การเขียนโปรแกรม iPhone, iPad
สอน Java การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน Java GUI การเขียนโปรแกรม ภาษา Java GUI
สอน JSP การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน jQuery การเขียนโปรแกรม ภาษา jQuery
สอน .Net การเขียนโปรแกรม ภาษา .Net
Free Tutorial
สอน Google Maps Api
สอน Windows Service
สอน Entity Framework
สอน Android
สอน Java เขียน Java
Java GUI Swing
สอน JSP (Web App)
iOS (iPhone,iPad)
Windows Phone
Windows Azure
Windows Store
Laravel Framework
Yii PHP Framework
สอน jQuery
สอน jQuery กับ Ajax
สอน PHP OOP (Vdo)
Ajax Tutorials
SQL Tutorials
สอน SQL (Part 2)
JavaScript Tutorial
Javascript Tips
VBScript Tutorial
VBScript Validation
Microsoft Access
MySQL Tutorials
-- Stored Procedure
MariaDB Database
SQL Server Tutorial
SQL Server 2005
SQL Server 2008
SQL Server 2012
-- Stored Procedure
Oracle Database
-- Stored Procedure
SVN (Subversion)
แนวทางการทำ SEO
ปรับแต่งเว็บให้โหลดเร็ว


Hit Link
   







Load balance : Server 05
ThaiCreate.Com Logo
© www.ThaiCreate.Com. 2003-2024 All Rights Reserved.
ไทยครีเอทบริการ จัดทำดูแลแก้ไข Web Application ทุกรูปแบบ (PHP, .Net Application, VB.Net, C#)
[Conditions Privacy Statement] ติดต่อโฆษณา 081-987-6107 อัตราราคา คลิกที่นี่